Photographer : © Jonathan Cheah Weng Kwong

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Blue-throated Bee-eater Merops viridis นกจาบคาคอสีฟ้า A R, N

นกจาบคาคอสีฟ้ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Merops viridis ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินคือ viridis (virid, esc) แปลว่าสีเขียว ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกจาบคาคอสีฟ้า 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Merops viridis viridis Linnaeus ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด
นกจาบคาคอสีฟ้ามีกระจายพันธุ์ในจีนตอนใต้ เกาะไหหลำ ไทย มาเลเซีย อินโดจีนยกเว้นประเทศลาว หมู่เกาะชุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์
สถานภาพ นกจาบคาคอสีฟ้ามีทังที่เป็นนกประจำถิ่น นกอพยพผ่าน และนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์
พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ พวกที่เป็นนกประจำถิ่นพบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก แต่ในช่วงฤดูกาลอพยพจะพบบ่อยและปริมาณมาก
กฎหมายจัดนกจาบคาคอสีฟ้าเป็นสัตว์ป้คุ้มครอง

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

Tags:

No responses yet

ใส่ความเห็น

นกที่พบใหม่จำนวน 128 ชนิด (ข้อมูลปี 2024) นกที่พบล่าสุดคือ นกจับแมลงหางสีตาล Rusty-tailed Flycatcher รายงานแรกโดย Tony Broome บริเวณใกล้กับลานกางเต็นท์บ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567 นับเป็นรายงานแรกของนกชนิดนี้ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้