Photographer : | © Niraj Vijaykumar Mistry |
ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์
ชื่อสามัญ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย | การรายงาน | สถานภาพตามฤดูกาล |
Green Bee-eater | Merops orientalis | นกจาบคาเล็ก | A | R |
ชื่ออื่น Little Green Bee-eater, Small Green Bee-eater
นกจาบคาเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Merops orientalis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ orient, -al หรือ orientis หรือ oriens แปลว่าฉายแสงหรือทิศตะวันออก และ -ลlis แปลว่าเป็นของความหมายคือ “นกที่พบในซีกโลกตะวันออก” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกจาบคาเล็ก 9 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Merops sorientalis ferrugeiceps Anderson ชื่อชนิดย่อย มาจากรากศัพท์ภายาละดินคือ ferrugin แปลว่าสีสนิมและ =Ceps แปลว่าหัว ความหมายคือ “นกที่มีหัวสีสนิมหรือสีน้ำตาลแดง” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่ประเทศพม่า นักปักษีวิทยาบางท่านจัดชื่อชนิดย่อยนี้เป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกันกับ Merops orientalis birmanus ชื่อชนิดย่อยนี้ดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศพม่า นกจาบคาเล็กมีกระจายพันธุ์ในแอฟริกา ตะวันออกกลาง อินเดีย จีนดนตะวันตกเฉียงใต้ พม่า ไทย และอินโดจีน
สถานภาพ นกจาบคาเล็กเป็นทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพมาทำรังวางไข่ในประเทศไทย พบบ่อยและปริมาณมากเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่ จังหวัดประจวบดีรีขันธ์ลงไป
กฎหมายจัดนกจาบคาเล็กเป็นสัตว์ปคุ้มครอง
ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา
B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี
C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ
D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง
E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด
F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม
สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด
R : นกประจำถิ่น
N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)
B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่
P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง
V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org