นกจาบคาเคราน้ำเงิน Blue-bearded Bee-eater

Photographer : © Phuc Le/Forestbirding

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Blue-bearded Bee-eater Nyctyornis athertoni นกจาบคาเคราน้ำเงิน A R

นกจาบคาเครน้ำงินมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nycyomis atheroni ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อของบุคคลคือ J. Atherton นายทหารชาว
อังกฤษประจำประเทศอินเดีย พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ทัโลกมีนกจาบคาเคราน้ำเงิน 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Nyctyornis athertoni athertoni (Jardine and Selby) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาเช่นเดียวกับชื่อชนิด
นกจาบคาเคราน้ำเงินมีกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นมาเลเซีย
สถานภาพ นกจาบคาเคราน้ำเงินเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางเกือบทุกภาค ยกเว้น ภาคกลางและภาคใต้
กฎหมายจัดนกจาบคาเคราน้ำเงินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

ใส่ความเห็น