นกจาบคาหัวเขียว Blue-tailed Bee-eater

Photographer : © Tushar Bhagwat

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Blue-tailed Bee-eater Merops philippinus นกจาบคาหัวเขียว A R, N

ชื่ออื่น Brown-breasted Bee-eater, Green-headed Bee-eater
นกจาบคาหัวเขียวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือประเทศฟิลิปปีนส์
นกจาบคาหัวเขียวมีชื่อพ้องว่า Merops superciliosus Linnaeus ชื่อพ้อง มาจากคำในภาษาละดินคือ sperciliosus หรือ supercilios แปลว่าคิ้ว (cili, -a, -, =um แปลว่าหน้าตา ขนตา หรือขนเล็กๆ และ -os, =a, =um, =us แปลว่าเต็มไปด้วย) ความหมายคือ “นกที่มีคิ้วเด่นชัด”ทั่วโลกมีนกจาบคาหัวเขียว 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ
Merops philippinus javanicus Horsfield ชื่อชนิดย่อดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก
คือเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย นักปักษีวิทยาบางท่านจัดชนิดย่อยนี้เป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน
กับ Merops philippinus philippinus Linnaeus
นกจาบคาหัวเขียวมีกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ฟิลิปปินส์ และนิวกินี
สถานภาพ นกจาบคาหัวเขียวเป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพมาทำรังวางไข่ นกอพยพผ่าน และนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณปานกลางเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กฎหมายจัดนกจาบคาหัวเขียวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

ใส่ความเห็น