นกกินปลีแดงหัวไพลิน Fire-tailed Sunbird

Photographer : © Bhavesh Rathod
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Fire-tailed Sunbird Aethopyga ignicauda นกกินปลีแดงหัวไพลิน A N

นกกินปลีแดงหัวไพลิน (Fire-tailed Sunbird) เป็นนกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 11-19 เซนติเมตร มีลักษณะร่วมของนกกินปลีคือมีจะงอยปากยาวโค้ง ลำตัวเรียวยาว ตัวผู้จะมีสีสันโดดเด่นกว่าตัวเมีย ตัวผู้มีหัวสีน้ำเงินไพลิน ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างสีเหลือง หางสีแดงสดยาว 10-15 เซนติเมตร ตัวเมียไม่มีจุดเด่นใดๆ

นกกินปลีแดงหัวไพลิน อาศัยในป่าดิบบนภูเขาหรือป่าสนเขา ระดับสูงหลายพันเมตร แพร่กระจายพันธุ์ตามแนวเทือกเขาสูง แนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ทิเบต จีนตอนใต้ และพม่า ในประเทศไทยพบเฉพาะดอยผ้าห่มปก และดอยลาง

นกกินปลีแดงหัวไพลิน มักทำรังห้อยแขวนไว้บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก ด้วยใบไม้แห้ง ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ข้อมูลจำเพาะ

  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Aethopyga ignicauda
  • อันดับ: Passeriformes
  • วงศ์: Nectariniidae
  • สถานะการอนุรักษ์: ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1)

ลักษณะทั่วไป

  • นกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 11-19 เซนติเมตร
  • มีลักษณะร่วมของนกกินปลีคือมีจะงอยปากยาวโค้ง ลำตัวเรียวยาว
  • ตัวผู้จะมีสีสันโดดเด่นกว่าตัวเมีย
  • ตัวผู้มีหัวสีน้ำเงินไพลิน ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างสีเหลือง หางสีแดงสดยาว 10-15 เซนติเมตร
  • ตัวเมียไม่มีจุดเด่นใดๆ

ถิ่นอาศัย

  • อาศัยในป่าดิบบนภูเขาหรือป่าสนเขา ระดับสูงหลายพันเมตร
  • แพร่กระจายพันธุ์ตามแนวเทือกเขาสูง แนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ทิเบต จีนตอนใต้ และพม่า
  • ในประเทศไทยพบเฉพาะดอยผ้าห่มปก และดอยลาง

พฤติกรรม

  • มักทำรังห้อยแขวนไว้บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก ด้วยใบไม้แห้ง
  • ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน

สถานะการอนุรักษ์

  • จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก
http://www.orientalbirdimages.org
https://ebird.org

ใส่ความเห็น