นกกินเปี้ยวท้องสีส้ม Sacred Kingfisher

Photographer : © Nayana Amin

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Sacred Kingfisher Todiramphus sanctus นกกินเปี้ยวท้องสีส้ม A V

ประเทศไทยขอต้อนรับสมาชิกใหม่

ฟิลลิป ราวด์ และคณะ ดักนกกระเต็นตัวนี้ได้จากโครงการสิ่งแวดล้อมในพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งดูนกที่ดีที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ จากการตรวจสอบพบว่าเป็นนกกระเต็นชนิดใหม่ของประเทศไทย ลักษณะคล้ายคลึงกับนกกินเปี้ยว แต่ว่าตัวเล็กกว่า สีอ่อนกว่า ด้านล่างมีสีส้ม และท้ายทอยมีจุดสีขาว จำแนกเป็น Sacred Kingfisher ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย และอพยพมายังแถบซุนดาในช่วงฤดูร้อน นกกระเต็นชนิดนี้เคยถูกรายงานผิดมาหลายครั้ง แต่ไม่มีการยืนยันแน่ชัด ครั้งนี้เป็นแรกของอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งปกติ การอพยพจากใต้ขึ้นเหนือนั้นหายากพออยู่แล้ว อาจเป็นได้ว่าอากาศร้อนจัดผิดปกติในออสเตรเลียเดือนที่ผ่านมาทำให้สัตว์อพยพผิดปกติมากขึ้นก็ได้

 

 

 

 

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

ใส่ความเห็น