Photographer : | © Martin Hale |
ชื่อสามัญ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย | การรายงาน | สถานภาพตามฤดูกาล |
Pectoral Sandpiper | Calidris melanotos | นกชายเลนอกลาย | A | V |
ปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมามีนกชายเลนปริศนามาปรากฏตัวกลางทุ่งนาท่าหลวง ใกล้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นที่ถกเถียงกันว่ามันคือชนิดไหนระหว่างนกชายเลนกระหม่อมแดง (Sharp-tailed Sandpiper) ที่หายากในไทย และนกชายเลนอกลาย (Pectoral Sandpiper) ซึ่งหายากยิ่งกว่าเสียอีก เพราะมีรายงานในไทยก่อนหน้านี้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สามวันถัดมาก็มีนกชายเลนอกลายของแท้แน่นอนถูกถ่ายภาพไว้ได้ที่จุดเดียวกัน และอยู่ให้ดูหลายวันทีเดียว
การพบครั้งนี้ห่างจากรายงานแรกในไทยเกือบ 9 ปี โดยครั้งนั้นพบที่บ้านปากทะเล จ.เพชรบุรี แหล่งดูนกชายเลนที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะภายนอกที่ใช้จำแนกชนิดนกชายเลนอกลายจากนกชายเลนกระหม่อมแดงได้คือบริเวณสีเข้มที่อก ซึ่งตัดกับท้องสีขาวชัดเจนกว่า นอกจากนี้ยังมีลายขีดรูปลูกศรสีดำที่แนวข้างลำตัวน้อยกว่า โทนสีด้านบนลำตัวก็เป็นสีน้ำตาลอมเหลืองตุ่น ๆ ไม่อมน้ำตาลแดง จะงอยปากก็ยาวกว่าด้วย
ดูเผิน ๆ ทั้งสองชนิดคล้ายนกสติ๊นท์นิ้วยาว (Long-toed Stint) ซึ่งพบง่ายกว่ามาก จริง ๆ แล้วทั้งนกชายเลนอกลายและกระหม่อมแดงตัวโตกว่านกสติ๊นท์พอสมควร แต่หากไม่มีนกอื่นอยู่ใกล้ ๆ ให้เทียบ การประเมินขนาดก็มีโอกาสผิดเพี้ยนง่าย นอกจากขนาดตัว นกสติ๊นท์นิ้วยาวก็มีสัดส่วนหัวที่โตและลำตัวเพรียวบางกว่า โคนปากสีเข้มก็เป็นจุดสังเกตสำคัญ หากเห็นโคนปากทั้งบนและล่างสีเหลืองชัดเจนก็แสดงว่าอาจไม่ใช่นกสติ๊นท์
ขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2018/09/15/entry-1
1
2
3
4
5
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา
B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี
C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ
D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง
E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด
F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม
สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด
R : นกประจำถิ่น
N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)
B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่
P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง
V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org