นกกระเต็นลาย Banded Kingfisher

Photographer : © Phuc Le/Forestbirding

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Banded Kingfisher Lacedo pulchella นกกะเต็นลาย A R

นกกระเต็นลาย (Banded Kingfisher) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lacedo pulchella คำว่า “Lacedo” มาจากภาษาละตินคำว่า “lcedo” ซึ่งหมายถึง “นกกระเต็น” ส่วนคำว่า “pulchella” มาจากภาษาละตินคำว่า “pulcher” ซึ่งหมายถึง “สวยงาม”

นกกระเต็นลาย  เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกกระเต็น (Alcedinidae) พบกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค

นกกระเต็นลายมีลักษณะเด่นคือ มีขนาดลำตัวประมาณ 21.5-24.5 เซนติเมตร ตัวผู้มีหัวน้ำตาลเข้ม อกและท้องน้ำตาลแดงแกมเหลือง คอและกลางท้องขาว กระหม่อม หลัง และหางเป็นลายขวางสีดำสลับฟ้าสด ตัวเมียมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ ลำตัวด้านบนสีเขียวอมเหลือง ลำตัวด้านล่างขาว อกและข้างลำตัวมีลายเกล็ดสีดำ

นกกระเต็นลายเป็นนกประจำถิ่น ไม่อพยพย้ายถิ่นฐาน สถานภาพปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทมีความเสี่ยงน้อย (Least Concern)

1

2

3

4

5
เสียงร้อง
6
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

ใส่ความเห็น