นกกระเต็นปักหลัก Pied Kingfisher

Photographer : © Srikumar Bose

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Pied Kingfisher Ceryle rudis นกกะเต็นปักหลัก A R

ชื่ออื่น นกปักหลัก, Lesser Pied Kingfisher

นกกระเต็นปักหลักมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ceryle rudis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ rudis แปลว่าดาบหรือหอก ความหมายคือ “ปากยาวแหลมคล้ายดาบหรือหอก” พบครั้งแรกที่ประเทศอียิปต์ทั่วโลกมีนกกระเต็นปักหลัก 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Ceryle rudis leucomelanura Reichenbach ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรึคือ leuc, -o หรือ leukos แปลว่าสีขาว melan, -o หรือ melanos แปลว่าสีดำ และ ur, =a, =o หรือ oura แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางสีขาวสลับดำ” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา นกกระเต็นปักหลักมีกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกกลาง อินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นมาเลเซีย
สถานภาพ นกกระเต็นปักหลักเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลางเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กฎหมายจัดนกกระเต็นปักหลักเป็นสัตว์ปาคุ้มครอง

 

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

ใส่ความเห็น