นกกระเต็นขาวดำใหญ่ Crested Kingfisher

Photographer : © Ankur Moitra

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Crested Kingfisher Megaceryle lugubris นกกะเต็นขาวดำใหญ่ A R

นกกระเต็นขาวดำใหญ่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megaceryle lugubris ชื่อชนิดมาจากคำในภาษาละตินคือ lugubris (ugubr) แปลว่าเศร้า ความหมายคือ “นกที่มีสีไม่สดใส (สีขาวและสีดำคือสีแห่งความเศร้า)” พบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ทั่วโลกมีนกกระเต็นขาวดำใหญ่ 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ1 ชนิดย่อยคือ Megaceryle lugubris guttulate Stejneger ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภายาละตินคือ gu, =a แปลว่าหยดน้ำ หรือจุดเล็กๆ -ul, -a, =e,=um, =us แปลว่าเล็ก และ -ta เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “มีลายเป็นรูปหยดน้ำหรือจุดเล็กๆ” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่เมือง Cachar ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
นกกระเต็นขาวดำใหญ่กระจายพันธุ์ในรัฐแคชเมียร์ในประเทศอินเดีย จีน เกาะไหหลำ ญี่ปุ่น พม่า ไทย ลาว และเวียดนาม

นกกระเต็นขาวดำใหญ่ (Crested Kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 43 เซนติเมตร มีปากยาวใหญ่สีดำ ขนหัวเป็นหงอนตั้งฟู หัวและลำตัวด้านบนสีดำแซมจุดขาวโดยตลอด มุมปากถึงข้างคอเป็นแถบขาวใหญ่ ท้องขาว อกมีแถบดำแซมน้ำตาลแดง ข้างลำตัวมีลายดำจางๆ ตัวผู้ : ใต้ปีกขาว ตัวเมีย : ใต้ปีกน้ำตาลแดง
สถานภาพ นกกระเต็นขาวดำใหญ่เป็นนกประจำถิ่น หายากและปริมาณน้อยมาก พบทางภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันตก
กฎหมายจัดนกกระเต็นขาวดำใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

1

2

3

4

5
6
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

About The Author

More From Author

Leave a Reply

เนื้อหาน่าสนใจ