นกนางนวลหลังเทา Slaty-backed Gull

Photographer : © Peter MacKenzie

นกนางนวลหลังเทา Slaty-backed Gull Larus schistisagus มีการพบและถ่ายภาพนกชุดขนฤดูหนาวปีแรกได้ ๑ ตัว ที่บางปู จ. สมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ (ปรเมษฐ์ ดุษปิยะ) ต่อมาพบและถ่ายภาพนกชุดขนเก่าของฤดูหนาวปีแรก ที่แหลมผักเบี้ย เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (ปีเตอร์ อิริคสัน) และวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (อเล็กซ์ ฟากัส) ได้รับการยืนยันจำแนกชนิดโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ, ส่วนอีกรายงาน เป็นนกชุดขนฤดูหนาวปีแรกที่เก่ามาก ถ่ายภาพได้จากแหลมผักเบี้ยเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ (จอห์น สเตอริ่ง) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นนกนางนวลหลังเทา แต่ก็ยังไม่มั่นใจ ๑๐๐% เนื่องจากขนเก่าซีดมาก มีหลายจุดที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Slaty-backed Gull Larus schistisagus นกนางนวลหลังเทา A V

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

About The Author

More From Author

Leave a Reply

เนื้อหาน่าสนใจ