อีแร้งดำหิมาลัย Cinereous Vulture

Photographer : © Sumit Sengupta

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Cinereous Vulture Aegypius monachus อีแร้งดำหิมาลัย A N

อีแร้งดำหิมาลัย (Cinereous Vulture) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกอีแร้งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง ในประเทศไทยพบเป็นนกอพยพเข้ามาในฤดูหนาว สถานะการอนุรักษ์ในประเทศไทยอยู่ในระดับใกล้ถูกคุกคาม

อีแร้งดำหิมาลัยมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 102-104 เซนติเมตร ความยาวปีกจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง 2.9 – 3 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 7-12.5 กิโลกรัม ถือเป็นอีแร้งที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย ตัวผู้และตัวมีลักษณะเหมือนกัน ทั่วตัวมีขนสีดำ ตรงบริเวณหัวถึงคอมีขนน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย บริเวณรอบ ๆ คอมีขนขึ้นฟูคล้ายพวงมาลัย นิ้วสีออกขาว ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยมีลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนกว่า

อีแร้งดำหิมาลัยเป็นสัตว์กินซาก มักหากินตามซากสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย ม้า ช้าง เป็นต้น โดยใช้จะงอยปากและเล็บฉีกซากให้กว้างออกเพื่อกินเนื้อและกระดูก อีแร้งดำหิมาลัยสามารถย่อยกระดูกได้เนื่องจากมีแบคทีเรียที่ย่อยกระดูกอยู่ในกระเพาะอาหาร

อีแร้งดำหิมาลัยทำรังบนหน้าผาสูงชัน วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ไข่ฟักเป็นตัวประมาณ 50-60 วัน ลูกนกจะอยู่กับพ่อแม่นานประมาณ 3 ปี จึงจะแยกตัวไปหากินเอง

ภัยคุกคามที่สำคัญต่ออีแร้งดำหิมาลัย ได้แก่ การสูญเสียถิ่นอาศัย และการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงในซากสัตว์

1

2

3

4

5

6
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

ใส่ความเห็น