Northern Wheatear

Photographer :
  •  Lukasz Pulawski

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Northern Wheatearr Oenanthe oenanthe ยังไม่มีชื่อไทย A V

ฤดูหนาวปีนี้เป็นอีกปีที่สร้างความตื่นเต้นและเหนื่อยล้าให้กับนักดูนกไทยได้ไม่น้อยตั้งแต่ช่วงเปิดฤดู มีนกอพยพหายากและนกพลัดหลงหลากหลายชนิดปรากฎตัวให้นักดูนกออกเดินทางไปชื่นชมได้ไม่เว้นอาทิตย์ นกเขนทะเลทรายตัวนี้คือหนึ่งในนั้นแถมด้วยดีกรีนกใหม่ชนิดล่าสุดของประเทศไทย
Northern Wheatear เป็นนกเขนทะเลทรายชนิดที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดและถิ่นทำรังวางไข่อยู่ในเขตเหนือสุดของนกสกุลนี้ เป็นที่มาของชื่อ Northern ซึ่งชื่อไทยก็อาจถูกตั้งล้อไปกับชื่อสามัญและถิ่นทำรังวางไข่ของนกชนิดนี้
Northern Wheatear ทำรังวางไข่ในทุ่งหญ้าสั้นโล่งหรือบริเวณที่เป็นหินตั้งแต่ตอนเหนือของเขต Subtropical จนถึงเขตอาร์คติก ทั้งในยูเรเซีย อลาสก้า กรีนแลนด์ และตอนเหนือของแคนนาดา ส่วนฤดูหนาวประชากรทั้งหมดอพยพไปอาศัยในแถบ Sub-Sahara ของทวีปแอฟริกา ซึ่งนกที่บินอพยพมาจากอลาสก้าต้องบินเป็นระยะทางถึง 14,500 กิโลเมตรเพื่อมายังทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตามมีรายงานนกชนิดนี้ประปรายในทวีปอื่นเช่นกันในช่วงฤดูหนาวซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะพายุลมแรงหรือนกปีแรกที่ยังขาดประสบการณ์ในการอพยพ และนกตัวนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่บินหลงมายังประเทศไทยซึ่งถูกพบโดยคุณ Jens Toettrup เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา
>>> นกเกือบทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
>>> การล่า ทำร้าย หรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมาย
ขอบคุณบทความจาก https://www.facebook.com/BirdsOfThailandByUNOHO

Note :: พบเมื่อวันที่ 2 เดือน ธันวาคม 2565 ที่ บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย-v

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

About The Author

More From Author

Leave a Reply

เนื้อหาน่าสนใจ