นกกระจ้อยวงตาแหว่ง White-spectacled Warble

Photographer : © Jainy Kuriakose
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
White-spectacled Leaf Warbler, Allied Flycatcher Warbler, Allied Flycatcher-Warbler, Allied Warbler, White spectacled Warbler, White-spectacled Flycatcher-Warbler
Phylloscopus intermedius นกกระจ้อยวงตาแหว่ง A V

 

Note :: พบเมื่อวันที่ 9 เดือนธันวาคม 2564 ที่ ดอยสันจุ๊ อช.ผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับนกใหม่ชนิดล่าสุดของไทย White-spectacled Warbler ได้ชื่อไทยอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้วคือ “นกกระจ้อยวงตาแหว่ง” โดยตั้งชื่อตามลักษณะวงตาที่แหว่งบริเวณหัวตาของมัน อย่างไรก็ตามแอดมินขอเตือนว่าอย่าได้สับสนกับนกกระจ้อยวงตาสีทองหัวเทา (Grey-crowned Warbler) ที่มีรอยขาดบนวงตาบริเวณด้านหลังตาเช่นกัน
นกกระจ้อยวงตาแหว่ง (White-spectacled Warbler) มีทั้งหมดสองชนิดย่อย คือ intermedius และ zosterops สำหรับนกในภาพนี้เป็นชนิดย่อยหลัก intermedius ที่ทำรังวางไข่บนภูเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ช่วงฤดูหนาวปกติอพยพลงใต้ไปยังฮ่องกง เวียดนาม และลาว แต่เจ้าตัวนี้อาจจะบินเลยหรือหลงมาถึงประเทศไทยและถูกพบครั้งแรกโดยคุณ Ingkayut Sa-ar เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ส่วนชนิดย่อย zosterops ทำรังบนเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออกและมีการอพยพตามระดับความสูงเท่านั้นในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์
ขอบคุณบทความจาก https://www.facebook.com/BirdsOfThailandByUNOHO

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://www.xeno-canto.org

ใส่ความเห็น