นกแก๊ก,แกง Oriental Pied Hornbill

Photographer : © Kaajal Dasgupta

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Oriental Pied Hornbill Anthracoceros albirostris นกแก๊ก, นกแกง A R

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


นกแก๊ก หรือ นกแกง (อังกฤษ: Oriental pied hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros albirostris) เป็นนกในวงศ์นกเงือก พบใน ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศภูฏาน, ประเทศบรูไน, ประเทศกัมพูชา, ประเทศจีน, ประเทศอินเดีย, ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศเนปาล, ประเทศสิงคโปร์, ประเทศไทย, และประเทศเวียดนาม มีถิ่นอาศัยในป่าดิบเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ปกติกินผลไม้จำพวกเงาะเป็นอาหาร
การจำแนก
นกแก๊ก ตัวผู้และตัวเมีย อาจใช้วิธีสังเกตย่อๆ ดังนี้คือ ตัวผู้ มีจงอยปาก และโหนกสีขาว งาช้างและ มีสีดำแต้มด้านหน้าของโหนก,ตัวเมีย มีโหนกเล็กกว่า และ มีสีดำแต้มเปรอะทั้งโหนก และ ปากจนดูมอมแมม ตัวที่ยังโตไม่เต็มวัย คล้ายตัวเต็มวัย แต่มีโหนกเล็กกว่า สีบริเวณปาก จะค่อยๆ ปรากฏชัด เมื่อนกมีอายุมากขึ้น
สถานภาพ
นกแก๊ก เป็นนกประจำถิ่นที่พบค่อนข้างบ่อย ทุกภาคของประเทศไทย (ยกเว้นภาคกลาง และ ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รวมทั้งเกาะชายฝั่งต่างๆด้วย เช่น เกาะสมุย เกาะเสม็ด เกาะไหง เกาะตะรุเตา ในประเทศไทย พบทั้ง 2 ชนิดย่อย ซึ่งมีการแพร่กระจายต่อเนื่องกัน โดย ชนิดย่อยพันธุ์เหนือ (A. a. albirostris) จะพบทั่วไป ยกเว้นทางใต้สุดของไทย ส่วน นกแก๊กพันธุ์ใต้ (A.a. convexus) ส่วนมากจะพบทางใต้สุดติดกับ ชายแดนมาเลเซียทางคาบสมุทร มาลายู และ ตามเกาะต่างๆของไทย ที่มีป่าดิบชื้นภายในเกาะ โดยทั่วไป นกแก๊ก จะพบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าผสมผลัดใบ และ ป่าชั้นรอง ตั้งแต่ป่าในที่ราบ ไปจนถึงป่าดิบเขาในระดับความสูง 1,400 เมตร แต่จะพบในป่าโปร่ง และ ชายป่าได้บ่อยกว่า นกเงือกชนิดอื่นๆ,ในภาคใต้พบตามป่าที่ราบต่ำ สองฝั่งลำน้ำ และ ลำธารในป่า ป่าชายฝั่งทะเล และ ป่าตามเกาะขนาดใหญ่ด้วย นกเงือกทุกชนิดไม่แต่ นกแก๊ก มีบทบาทสำคัญต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ของป่าดิบเมืองร้อน โดยมีบทบาท เด่นชัดในการเป็นผู้แพร่กระจาย เมล็ดพันธุ์ไม้และช่วยควบคุมประชากรสัตว์เล็ก ในฐานะผู้ล่า ในบางประเทศ นักพฤกษศาสตร์ ได้ศึกษา ป่าที่นกเงือกหายไป พบว่าต้นไม้บางชนิด เริ่มลดลง เพราะไม่มีนกเงือก ช่วยกระจายพันธุ์ป่าใกล้กรุงเทพฯ ที่หาดู นกแก๊ก ได้ค่อนข้างง่าย และ ไม่ตื่นคน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานฯแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์ฯ ห้วยขาแข้ง โดยมองหาต้นไม้จำพวกไทร และ มะเดื่อ ที่มีผลไม้สุกก็จะพบได้โดยง่าย
(ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org)

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

ใส่ความเห็น