นกกระจิ๊ดพันธุ์ญี่ปุ่น Japanese Leaf

Photographer : © Amar-Singh HSS


มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ Japanese Leaf-warbler Seicercus xanthodryas

Note: 

นกกระจิ๊ดพันธุ์ญี่ปุ่นเพิ่งถูกยกเป็นชนิดเต็ม แยกออกมาจากนกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ (Arctic Warbler) โดยเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีโทนสีลำตัวโดยรวมออกเหลืองมากที่สุด เรียกได้ว่าหน้าตามันก็พอจะดูต่างจากนกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือและ“คู่เหมือน”อย่างนกกระจิ๊ดคัมชัตกาอยู่บ้าง แต่ในภาคสนามจำเป็นต้องได้ยินเสียงร้องจึงจะสามารถยืนยันชนิดได้

แหล่งอาศัยหลักในช่วงฤดูหนาวของนกกระจิ๊ดพันธุ์ญี่ปุ่นนั้นคาดว่าเป็นเกาะแถบตะวันออกของซุนดา มันทำรังวางไข่บนภูเขาของเกาะหลักในประเทศญี่ปุ่น ยกเว้นเกาะฮอกไกโด ซึ่งเป็นแหล่งทำรังของนกกระจิ๊ดคัมชัตกา
ขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2017/05/07/entry-1

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Japanese Leaf Warbler Phylloscopus xanthodryas นกกระจิ๊ดพันธุ์ญี่ปุ่น A P

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

ใส่ความเห็น