นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ Rose-ringed Parakeet

Photographer : © Amir Sohail Choudhury

1.เพศผู้

Photographer : © Sunil Singhal

2. เพศเมีย

Photographer : © Girish Ketkar

เปรียบเทียบ

Photographer : © Manjusha Savant

นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ Rose-ringed Parakeet

นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ (Rose-ringed Parakeet) เดิมเป็นนกต่างถิ่นจากแอฟริกาและอินเดียที่ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในไทย และได้หลุดจากกรง แต่สามารถอาศัยหากินและขยายพันธุ์ในธรรมชาติได้จนกลายเป็นนกประจำถิ่น ถิ่นอาศัย พื้นที่เกษตรกรรม สวนป่า สวนผลไม้ สวนสาธารณะ และหมู่ไม้ยืนต้นในย่านชุมชน พบไม่บ่อยบริเวณภาคกลางตอนล่าง ตัวผู้จะมีแถบคอคล้ายแหวนสีชมพู ส่วนตัวเมียไม่มีแถบคอคล้ายแหวนสีชมพู ในบรรดานกแก้วของเมืองไทยนั้น “นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ” ออกจะมีนัยสำคัญอยู่สักหน่อย เพราะเดิมเป็นนกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย แต่นกบางส่วนได้หลุดออกจากกรงเลี้ยงไปสู่ธรรมชาติ แต่สามารถปรับตัวอาศัยหากิน และขยายพันธุ์ในธรรมชาติได้ กว่าจะแปลงสภาพจากนกหลุดจากกรงเลี้ยง มาอยู่บัญชีรายชื่อนกเมืองไทย ก็ต้องมีการสำรวจตรวจตรากันเสียก่อนว่า สามารถอาศัยและขยายพันธุ์ในธรรมชาติได้จริง คณะกรรมการ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้พิจารณาข้อมูลทะเบียนราษฏร์นกเมืองไทยอย่างเป็นทางการ “นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ” ยังถือว่าเป็นนกหลุดอยู่ แต่ในคู่มือดูนกหมอบุญส่ง “นกเมืองไทย” ได้รับการบรรจุเอาไว้ด้วย เพราะถึงแม้จะเป็นนกหลุด แต่สามารถแพร่ขยายพันธุ์เพิ่มประชากรในธรรมชาติได้ ซึ่งปัจจุบันมีการแพร่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้จำนวนมากพอสมควร ว่ากันตามจริง เมืองไทยเราปรากฎการมาเยือนของนกแก้วนอกถิ่นจากต่างประเทศมาเนิ่นนานแล้ว ชนชั้นเจ้านาย เศรษฐี และ เหล่าพ่อค้าวาณิช ตั้งแต่สมัยอยุธยานิยมสั่งนกแก้วสีสวยจากต่างประเทศมาเลี้ยง เพื่อแสดงถึงอำนาจ บารมี และความมั่งคั่ง คงไม่ต่างไปจากการมีรถยนต์หรูราคาแพงหรือกระเป๋าแบรนด์เนมในรัตนโกสินทร์ศกกระมัง ผ่านยุคสมัยมาเนิ่นนานสำหรับนกแก้วนำเข้าจากต่างประเทศที่ถูกนำมาเลี้ยงในไทยเรา หลาย ๆ ชนิดคงหลุดออกสู่ธรรมชาติ แต่ไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมได้ เหมือน นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ ในประเทศไทยเรา นกแก้วได้รับการประกาศให้เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่หลายๆชนิด โดนคุกคามจากปัญหาลักลอบค้าสัตว์ป่า จนกลายมาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ เนื่องจากประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
Cr: oknation

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Rose-ringed Parakeet Psittacula krameri นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ C R

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

ใส่ความเห็น