นกปรอดอิระวดี (Ayeyarwady Bulbul)

 

Photographer : © Ayuwat Jearwattanakanok

นกปรอดอิระวดี (Ayeyarwady Bulbul)

การประชุมของคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลนกไทยเพิ่งรับรอง “นกปรอดอิรวดี” (Ayeyarwady Bulbul) เป็นนกใหม่ชนิดล่าสุดของประเทศไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเป็นของ Dave Gandy ซึ่งถ่ายรูปได้ที่แม่สอดเมื่อเดือนก่อนนี้เอง เท่ากับว่านกปรอดอิรวดีไม่ใช่ชนิดเฉพาะถิ่น (endemic) ของพม่าอีกต่อไป

ไม่กี่วันหลังประชุมคณะกรรมการฯ ก็มีรูปแจ่มๆของนกปรอดอิรวดีซึ่งถ่ายโดยคุณ Ghimnguan Tlr ที่สังขละบุรี (ล่าสุดเห็นว่าเพิ่งถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ ใครจะตามไปดูก็ระมัดระวังในการใช้ถนนนะครับ) ตอนนี้เมืองไทยพบได้สองแห่งแล้ว ไม่รู้ว่าเพิ่ง expand range เข้ามาหรือว่ามีมานานแล้วแต่ถูกมองข้าม

แต่ถึงจะเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับนกปรอดสวน (Streak-eared Bulbul) ที่นักดูนกไทยทุกคนคุ้นเคยกันดี จริงๆแล้วนอกจากสีม่านตาก็มีความแตกต่างอีกหลายอย่างครับ อ่านเพิ่มเติมได้ในบล็อกคอลัมน์ #นกป่าสัปดาห์ละตัว

ปล. วันที่ 4 ส.ค. นี้ Bird Conservation Society of Thailand (BCST) มีประชุมพร้อมอัปเดตข้อมูลนกใหม่ ดูรายละเอียดได้ใน https://www.facebook.com/…/a.26997049311…/1785759831538952/…

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Ayeyarwady Bulbul Pycnonotus blanfordi นกปรอดอิรวดี A R

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org

About The Author

More From Author

Leave a Reply

เนื้อหาน่าสนใจ