Photographer : | © Wasantha P Dissanayake |
ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
แหล่งอ้างอิง: หนังสือนกในเมืองไทย รศ.โอภาส ขอบเขตต์
ชื่อสามัญ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย | การรายงาน | สถานภาพตามฤดูกาล |
Pied Cuckoo | Clamator jacobinus | นกคัคคูขาวดำ นกคัดคูด่าง |
A | B, N |
ชื่ออื่น นกดัดคูหงอนด่างดำขาว, Black-and-White Cuckoo
นกดัดคูขาวดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clamator jacobinus ชื่อชนิดดัดแปลงจากคำที่ใช้เรียกนักบวชนิกายโรมันคาทอลิก คือ Jacobin หรือ Dominican friars ซึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้สีดำและสีขาว ชื่อชนิดจึงมีความหมายว่า “นกที่มีสีดำและสีขาว” นกคัดคูขาวดำพบครั้งแรกที่ชายฝั่ง Coromandel ในประเทศอินเดีย นกดัดคูขาวดำมีกระจายพันธุ์ในแอฟริกา อิหร่านอินเดีย พม่า จีนด้านตะวันตก และไทย
สถานภาพ นกคัดดูด่งเป็นนกที่อพยพมาผสมพันธุ์วางไข่ในประเทศไทยช่วงฤดูฝน หายาก และปริมาณน้อย พบเฉพาะทางภาคตะวันตกบางแห่ง
กฎหมายจัดนกดัดคูขาวดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา
B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี
C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ
D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง
E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด
F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม
สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด
R : นกประจำถิ่น
N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)
B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่
P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง
V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org