Photographer : | © Yann Muzika |
มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ Kamchatka Leaf-warbler Seicercus examinandus
Note ::
นกกระจิ๊ดคัมชัตกาถูกจัดเป็นชนิดย่อยของนกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ (Arctic Warbler) ร่วมกับนกกระจิ๊ดพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Leaf Warbler) ภายหลังถูกแยกออกเป็นสามชนิดจากผลการวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอที่สอดคล้องกับเสียงร้อง รายงานแรกของนกกระจิ๊ดคัมชัตกาในไทยคือนกติดตาข่ายและถูกใส่ห่วงขาที่แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2553 ยืนยันชนิดจากผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ แต่หลังจากนั้นก็มีการพบอีกเป็นจำนวนไม่น้อยจนสรุปได้ว่ามันมีสถานภาพเป็นนกอพยพผ่านที่พบได้ประจำทุกปีตั้งแต่ราว ๆ กลางเดือน เม.ย.เป็นต้นไป
นกกระจิ๊ดคัมชัตกามีเชื้อสายใกล้ชิดกับนกกระจิ๊ดพันธุ์ญี่ปุ่นที่สุด อย่างไรก็ตาม สีสันภายนอกของมันแทบไม่ต่างจากนกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ แม้โดยเฉลี่ยจะมีสีออกโทนอมเหลืองมากกว่าเล็กน้อย แต่มักไม่เหลืองชัดเจนเท่าพันธุ์ญี่ปุ่น การจำแนกชนิดในภาคสนามต้องใช้เสียงร้องในการยืนยันเท่านั้น ส่วนนกที่ติดตาข่จา ายบางตัวสามารถจำแนกชนิดได้จากการวัดความยาวปีก เนื่องจากนกกระจิ๊ดเพศผู้มีขนาดใหญ่และปีกยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย ปีกของกระจิ๊ดคัมชัตกาเพศผู้จึงยาวกว่าของขั้วโลกเหนือเพศเมีย และสั้นกว่าพันธุ์ญี่ปุ่นเพศผู้ชัดเจน
ขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2017/05/07/entry-1
ชื่อสามัญ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย | การรายงาน | สถานภาพตามฤดูกาล |
Kamchatka Leaf Warbler | Phylloscopus examinandus | นกกระจิ๊ดคัมชัตกา | A | P, N? |
ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา
B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี
C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ
D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง
E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด
F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม
สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด
R : นกประจำถิ่น
N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)
B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่
P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง
V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org