X

นกพญาไฟคอเทาปักษ์ใต้ Grey-throated Minivet

Photographer : © Subrato Sanyal

1.เพศผู้

Photographer : © Avisek Banerjee

2.เพศเมีย

Photographer : © Avisek Banerjee

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Grey-throated Minivet Pericrocotus montanus นกพญาไฟคอเทาปักษ์ใต้ A R

ประเภทการรายงานของนกแต่ละชนิด

A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง

ในรายชื่อนกไทยฉบับปรับปรุงใหม่ มีนกบางชนิดถูกแยกจากหนึ่งเป็นสองชนิดตามการเปลี่ยนแปลงทางอนุกรมวิธาน กรณีที่ทราบกันดีคือ“นกจู๋เต้นเขาหินปูน”ที่ในอดีตรู้จักกันในชื่อ Limestone Wren Babbler ปัจจุบันถูกแยกออกมาเป็นสองชนิดได้แก่ Rufous Limestone Babbler (นกจู๋เต้นสระบุรี) และ Greyish Limestone Babbler (ซึ่งคงชื่อนกจู๋เต้นเขาหินปูนไว้ตามเดิม เนื่องจากมีขอบเขตการกระจายพันธุ์ที่กว้างกว่ามาก) หากเคยพบทั้งสองพันธุ์มาก่อนหน้านี้แล้ว ก็เท่ากับว่ามีนกใหม่ที่นับได้โดยไม่ต้องออกไปตามหาเพิ่มขึ้นมาอีกชนิด “นกใหม่”ในที่นี้มีศัพท์ที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการในวงการดูนกของอังกฤษว่า armchair tick

อีกชนิดที่กลายเป็นสองชนิดคือ“นกพญาไฟคอเทา” (Grey-chinned Minivet) ซึ่งนกที่พบบนภูเขาทางภาคใต้ตอนล่างสุดถูกแยกออกไปเป็น“นกพญาไฟคอเทาปักษ์ใต้” (Grey-throated Minivet หรือ Mountain Minivet) ส่วนทางตอนบนของประเทศยังคงใช้ชื่อเดิม
ขอบคุณข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2018/08/11/entry-1

ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก http://www.orientalbirdimages.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://www.xeno-canto.org

admin: