X

นกกระเต็นน้อยธรรมดา Common Kingfisher

Photographer :  มงคล แก้วเทพ Mongkol keawtep

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Common Kingfisher Alcedo atthis นกกะเต็นน้อยธรรมดา A N

นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common Kingfisher) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alcedo atthis คำว่า Alcedo มาจากภาษากรีกโบราณ หมายถึง “นกกระเต็น” และคำว่า atthis หมายถึง “นกขนาดเล็ก” ดังนั้น ความหมายของคำว่า Alcedo atthis จึงหมายถึง “นกกระเต็นขนาดเล็ก”

นกกระเต็นน้อยธรรมดา เป็นนกกระเต็นขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน่ารัก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16–18 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่น ๆ แต่จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่างและอาจทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัวผู้มีปากสีดำสนิท

ลักษณะทั่วไป

  • ปากใหญ่ ยาว และแหลม
  • มีสีสันสวยงาม หัวโต คอสั้น หางและขาสั้น
  • ขนคลุมลำตัวสีน้ำเงินเหลือบ บนหัวมีลายปะเล็ก ๆ ขนบริเวณด้านหลังมีสีขาว ท้องสีน้ำตาลแดง
  • บนหัวและปีกหลังและตะโพกเป็นสีน้ำเงิน
  • ขาและนิ้วเท้าเล็ก ๆ สีแดงสดใส

ถิ่นอาศัย

พบตามแหล่งน้ำทั่วไป มักพบเกาะกิ่งไม้และตอไม้ที่อยู่ในน้ำ

อาหาร

กินปลาเป็นอาหารหลัก บางครั้งอาจกินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่น ๆ อีกด้วย

การสืบพันธุ์

ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ทำรังตามพื้นดินริมตลิ่ง โดยการขุดดิน เป็นโพรงลึก ไข่สีขาว ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง ระยะฟักไข่ 12-13 วัน

สถานภาพ นกกระเต็นน้อยธรรมดาส่วนใหญ่เป็นนกที่อพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์บางส่วนเป็นนกประจำถิ่น โดยเฉพาะพวกที่พบในบางแห่งทางภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค

กฎหมายจัดนกกระเต็นน้อยธรรมดาเป็นสัตว์ปาคุ้มครอง

1

2

3

4

5
เสียงร้อง
6
A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

admin: