X

นกโพระดกธรรมดา Lineated Barbet

Photographer : © Iftiaque Hussain

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Lineated Barbet Psilopogon lineatus นกโพระดกธรรมดา A R

นกโพระดกธรรมดา (Lineated Barbet) เป็นนกโพระดกชนิดหนึ่ง พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค

นกโพระดกธรรมดาเป็นนกขนาดกลาง มีขนาดยาวประมาณ 27-28 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีเขียวสด หัวและอกสีน้ำตาลอ่อน และมีลายสีเหลืองเป็นขีด ระยะไกล ๆ อาจจะมองไม่เห็นขีดเหล่านี้ชัดเจนนัก ปากสีเหลืองซีด สีสันของร่างกายส่วนอื่น ๆ เป็นสีเขียว หนังรอบตาสีเหลือง

นกโพระดกธรรมดามักพบโดดเดี่ยว เป็นคู่ และอาจพบอยู่รวมกันจำนวนมากในต้นผลไม้ที่กำลังสุก และเป็นอาหารที่นกชอบ ปกติมักมองเห็นตัวได้ยากเพราะสีกลมกลืนกับสีของใบไม้ แต่มักได้ยินเสียงร้องเป็นประจำ และเป็นเสียงที่คุ้นเคยกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง

เสียงร้องของนกโพระดกธรรมดาดัง (โฮก-ป๊ก) ซ้ำทุก ๆ 3-4 นาที เป็นเสียงร้องที่ก้องและดังไปไกล บอกครั้งก็ร้องออกเป็นเสียง “โพ-ระ-ดก-ดก” โดยร้องถี่และรัว เมื่อตัวหนึ่งร้องตัวอื่น ๆ จะร้องขานรับกันตลอด มักจะได้ยินเสียงร้องทั้งวัน แต่จะได้บยินมากที่สุกในช่วงตจอนเช้าและตอนเย็น

นกโพระดกธรรมดาเป็นนกที่กินผลไม้เป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังกินแมลง ดอกไม้ และน้ำหวานอีกด้วย นกโพระดกธรรมดาทำรังในโพรงไม้ โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง รังของนกโพระดกธรรมดามีลักษณะเป็นทรงกลม มีทางเข้าเพียงทางเดียว รังทำจากเศษไม้ ดินเหนียว และใบไม้ นกโพระดกธรรมดาวางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ไข่มีสีขาว ระยะเวลาฟักไข่ประมาณ 18-20 วัน







A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

admin: