X

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก Lesser Racquet-tailed Drongo

Photographer : © Rejaul Karim

 

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย การรายงาน สถานภาพตามฤดูกาล
Lesser Racquet-tailed Drongo Dicrurus remifer นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก A R

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก (Lesser Racket-tailed Drongo) เป็นนกในวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae) พบได้ในป่าดงดิบที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ของเขตเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศบังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย ลาว มาเลเซีย เนปาล เวียดนาม พม่า ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก มีความยาวประมาณ 25-27.5 เซนติเมตร หน้าผากมีหงอนสั้นๆ คลุมโคนปาก ทำให้ดูปากสั้นและหนา ขนลำตัวดำเหลือบน้ำเงินเป็นมัน ปีกและหางเหลือบเขียว ปลายหางตัด ก้านขนหางคู่นอกยาวมาก อาจยาวออกมาถึง 40 เซนติเมตร ปลายแผ่ออกสองข้างเป็นแผ่นรูปวงรียาว

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เป็นนกกินแมลง มักพบอยู่ตามกิ่งไม้สูงๆ ชอบส่งเสียงร้องเป็นท่วงทำนองซับซ้อน บางเลียนเสียงนกและสัตว์อื่นๆ ได้ดีมาก จนบางครั้งทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเสียงร้องของสัตว์ชนิดนั้นๆ เป็นนกที่ก้าวร้าว และป้องกันอาณาเขตอย่างแข็งขัน มักจะบินไล่นกและสัตว์ต่างๆ ที่เข้ามาใกล้รังของมัน

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซากด้วย







A : นกที่มีรายงานพบตามธรรมชาติในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

B : นกที่ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี

C : นกต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และสามารถปรับตัวให้อาศัยและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ

D : นกที่พบในธรรมชาติแต่อาจเป็นนกที่หลุดจากกรงเลี้ยง

E : นกที่มีรายงานพบในอดีต แต่อาจเป็นการจำแนกชนิดผิดพลาด

F : นกที่เป็นประชากรผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม

 

สถานภาพตามฤดูกาลของนกแต่ละชนิด

R : นกประจำถิ่น

N : นกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูหนาว)

B : นกที่อพยพเข้ามาทำรังวางไข่

P : นกอพยพผ่านช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

V : นกพลัดหลง มีรายงานไม่เกิน 3 ครั้ง


ขอบคุณข้อมูลภาพถ่ายจาก https://ebird.org
ขอบคุณข้อมูลการกระจายพันธุ์และเสียงร้องจาก https://ebird.org

 

admin: