จากการที่ขอมได้รับวัฒนธรรมและความเชื่อในศาสนาฮินดูมากจากอินเดีย ผ่านเข้ามาทางการเดินเรือค้าขายสินค้า ทำให้ศิลปะของขอมได้รับการพัฒนามาจากพื้นฐานทางศาสนาฮินดู แม้ว่าต่อมาในบางสมัย ขอมจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธมหายาน ซึ่งทั้งสองศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองตามแต่กษัตริย์ที่นับถือแต่ละศาสนา
ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของขอม นอกจากจะทำให้มีการพัฒนาด้านงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แล้วยังแผ่อิทธิพลไปในอาณาจักรใกล้เคียงในละแวกอินโดจีน รวมไปถึงอาณาจักรสยามด้วย
อารยธรรมขอมเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยอาณาจักรเจนละ ซึ่งตรงกับยุคทวารวดีของไทย โดยเข้ามาทางภาคอีสานเป็นแห่งแรก ซึ่งเข้ามาโดยผ่านทางศาสนา ทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน
หลังจากยุคทวารวดี ต่อมายังยุคสุโขทัย อยุธยา จนมาถึงรัตนโกสินทร์ ก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอม และนำมาผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่นของตัวเอง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด และส่วนที่ปรากฏให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะขอมได้อย่างเด่นชัด คือ
พระปรางค์ พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับรูปแบบและอิทธิพลโดยตรงจากขอม การสร้างพระปรางค์ของของอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในศาสนาฮินดู ความเชื่อเรื่องจักรวาลในศาสนาพุทธและฮินดูมีความคล้ายคลึงกันมาก รูปแบบลักษณะและแผนผังของปรางค์ปราสาทซึ่งเดิมเคยใช้ประดิษฐานเทวรูปหรือศิวลึงค์ในศาสนาฮินดู เมื่อมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธแล้ว ก็เปลี่ยนมาใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุแทน และต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็นประธานของวัดในสถาปัตยกรรมไทย
การสร้างพระปรางค์นั้นเป็นการดัดแปลงมาจากศิลปะขอม หรือเลียนแบบมาจากพระปรางค์โบราณที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย ได้มีการเลียนแบบลายของขอมมาใช้ประดับพระปรางค์ ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบจนกลายเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ในที่สุด
จากการที่ขอมได้รับวัฒนธรรมและความเชื่อในศาสนาฮินดูมากจากอินเดีย ผ่านเข้ามาทางการเดินเรือค้าขายสินค้า ทำให้ศิลปะของขอมได้รับการพัฒนามาจากพื้นฐานทางศาสนาฮินดู แม้ว่าต่อมาในบางสมัย ขอมจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธมหายาน ซึ่งทั้งสองศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองตามแต่กษัตริย์ที่นับถือแต่ละศาสนา
ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของขอม นอกจากจะทำให้มีการพัฒนาด้านงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แล้วยังแผ่อิทธิพลไปในอาณาจักรใกล้เคียงในละแวกอินโดจีน รวมไปถึงอาณาจักรสยามด้วย
อารยธรรมขอมเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยอาณาจักรเจนละ ซึ่งตรงกับยุคทวารวดีของไทย โดยเข้ามาทางภาคอีสานเป็นแห่งแรก ซึ่งเข้ามาโดยผ่านทางศาสนา ทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน
หลังจากยุคทวารวดี ต่อมายังยุคสุโขทัย อยุธยา จนมาถึงรัตนโกสินทร์ ก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอม และนำมาผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่นของตัวเอง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด และส่วนที่ปรากฏให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะขอมได้อย่างเด่นชัด คือ
พระปรางค์ พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับรูปแบบและอิทธิพลโดยตรงจากขอม การสร้างพระปรางค์ของของอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในศาสนาฮินดู ความเชื่อเรื่องจักรวาลในศาสนาพุทธและฮินดูมีความคล้ายคลึงกันมาก รูปแบบลักษณะและแผนผังของปรางค์ปราสาทซึ่งเดิมเคยใช้ประดิษฐานเทวรูปหรือศิวลึงค์ในศาสนาฮินดู เมื่อมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธแล้ว ก็เปลี่ยนมาใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุแทน และต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็นประธานของวัดในสถาปัตยกรรมไทย
การสร้างพระปรางค์นั้นเป็นการดัดแปลงมาจากศิลปะขอม หรือเลียนแบบมาจากพระปรางค์โบราณที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย ได้มีการเลียนแบบลายของขอมมาใช้ประดับพระปรางค์ ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบจนกลายเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ในที่สุด