คู่มือนักศึกษา สกร.ระดับอำเภอดอกคำใต้

 

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พัฒนาขึ้นตามหลักการและปรัชญาการศึกษานอกโรงเรียนนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา และมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ และสามารถดำรงชิวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชนสังคมได้อย่างมีความสุข

การจัดการศึกษานอกโรงเรียน ได้มีการพัฒนามาจากพื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษาจิตวิทยา ความเชื่อ และการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ทฤษฎีหลักสูตรและแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตลอดจนการพัฒนากระบวนการเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้ที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ มีคุณลักษณะและเป้าหมายในการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากเด็ก เช่นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพแล้วต้องการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงอาชีพที่ทำอยู่ บางคนเป็นสู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ยังมีพื้นฐานการศึกษาก่อนข้างต่ำ ต้องการได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อการศึกษาต่อ หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต บางคนเป็นผู้นำชุมชน ต้องการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่ บางคนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น บางคนต้องการ ได้รับการยอมรับจากสังคมนอกจากนี้ผู้ใหญ่บางคนอาจมีปัญหาและข้อจำกัดในการเรียนรู้ เช่น ไม่มีเวลาเรียน ขาดความมั่นใจ เรียนรู้บางเรื่องได้ช้า ดังนั้นการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่จะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะเหล่านี้
  2. การพัฒนาหลักสูตรและวิธีการจัดสาระและกระบวนการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีหลักสูตรคามแนวทางการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ ตลอดจนธรรมชาติ การเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวข้างต้นโดยใช้หลักการและศาสตร์การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้สอนก็ต้องมีความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่
  3. การกำหนดสาระและประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาผู้ใหญ่ และปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่ที่มุ่งเน้นการส่งเสริม การวิเคราะห์สภาพสังคมและการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการ “คิดเป็น” เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสร้างองค์ความรู้และนำสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
  4. ความต้องการในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เป็นการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพได้ทันที ดังนั้นการจัดสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ จึงมีความจำเป็นต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนดังกล่าวด้วย

หลักการ

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้

  1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นค้านสาระการเรียนรู้เวลาเรียนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชนและสังคม
  2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
  4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

 

จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมาย ดังต่อไปนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
  2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

4.มีทักษะการคำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชนสังคมได้อย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  1. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภายา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ระบุว่า ” เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาให้บุคคลได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ โดยให้บุคคลซึ่งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้วหรือไม่ก็ตามมีสิทธิได้รับการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยได้แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามกระบวนการและการดำเนินการที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้”

โครงสร้างของหลักสูตร

เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายมีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา จึงได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2531 ไว้ดังนี้

ระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้คือ

– ประถมศึกษา

– มัธยมศึกษาตอนต้น

– มัธยมศึกษาตอนปลาย

  1. สาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 สาระดังนี้

2.1. สาระทักษะการเรียนรู้ เป็นสาระเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้แหล่งเรียนรู้ การจัดการความรู้ การคิดเป็น และการวิจัยอย่างง่าย

2.2. สาระความรู้พื้นฐาน เป็นสาระเกี่ยวกับภายาและการสื่อสาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

2.3. สาระการประกอบอาชีพ เป็นสาระเกี่ยวกับการมองเห็นช่องทางและการตัดสินใจประกอบอาชีพ ทักษะในอาชีพ การจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม และการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

2.4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต เป็นสาระเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สุขศึกษา-พลศึกษา และศิลปศึกษา

2.5. สาระการพัฒนาสังคม เป็นสาระเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง             การปกครอง, ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี หน้าที่พลเมือง และ การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม

  1. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช‘)

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม โดยในทุกระดับการศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทำกิจกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร

ขอบข่ายเนื้อหาการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

3.1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตตนเอง และครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพกาย/จิต เช่นโครงการ
กศน.ไร้พุง ,   ด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น โครงการคุณธรรมนำชีวิต, ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงการรู้รับ รู้จ่าย ,  ด้านยาเสพติด เช่นโครงการครอบครัวอบอุ่น, ค้านเพศศึกษาเช่นโครงการ พ่อ-แม่รู้ใจวัยรุ่น, ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น โครงการเตรียมตัวเตรียมใจรับภัยธรรมชาติ

3.2. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในด้านต่างๆ เช่นด้านพัฒนาชุมชน/สังคม เช่นโครงการอาสาสมัครยุวกาชาดนอกโรงเรียน, ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ /สิ่งแวคล้อม เช่น โครงการลดโลกร้อน,ค้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เช่นโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรม,ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ เช่นโครงการคลังสมองร่วมพัฒนาชุมชน,ด้านการสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น โครงการอาสาสมัคร กศน. โครงการบรรณารักษ์อาสา

4 มาตรฐานการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2531 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน ดังนี้

4.1. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

4.2. มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละสาระการเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเรียนจบในแต่ละระดับ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับกรศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  1. เวลาเรียน

ในแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

  1. หน่วยกิต

ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร กศน.2551

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คงใช้โครงสร้างเดิม แต่จะปรับรายละเอียดภายใน ซึ่งไม่กระทบต่อมาตรฐานและสาระการเรียนรู้

ในหลักสูตร ดังนี้

  1. วิชาบังคับ

1) ปรับเนื้อหาบางรายวิชาให้มีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

2) วิเคราะห์เนื้อหาที่ต้องรู้ในรายวิชาบังคับ และจัดทำสื่อเผยแพร่ให้สถานศึกษาและผู้เรียนนำไปใช้ในการเรียน

  1. วิชาเลือก วิชาเลือกจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิชาเลือกบังคับ และวิชาเลือกเสรี

1) วิชาเลือกบังคับ เป็นวิชาที่พัฒนาขึ้นตามนโยบายของประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศในเรื่องต่างๆ ทั้ง 3 ระดับ คือ วิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน (พว…..) การเงินเพื่อชีวิต (สค….)                  วัสดุศาสตร์ (พว…..)  เรียนรู้ภัยธรรมชาติ (ทช…..) ฯลฯ

2) วิชาเลือกเสรี เป็นวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเอง โดยให้ยึดหลักการในการพัฒนา คือ

(1) พัฒนาโปรแกรมการเรียน เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและเป้าหมายทางการเรียนของผู้เรียน สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์ความต้องการ ความจำเป็น และความสนใจของผู้เรียนเพื่อออกแบบโปรแกรมการเรียน ภายในโปรแกรมการเรียนจะประกอบด้วยรายวิชาต่างๆที่ผู้เรียนจะต้องเรียนจะต้องเรียนรู้

(2) การพัฒนารายวิชาในโปรแกรมการเรียน สถานศึกษาควรดำเนินการร่วมกับผู้เรียนและภูมิปัญญา ผู้รู้ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆจัดทำโปรแกรมการเรียนและพัฒนารายวิชาต่างๆ

โดยกำหนดสัดส่วน ดังนี้

หมายเหตุ  วิชาเลือกในแต่ละระดับ สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำโครงงานอย่างน้อย จำนวน 3 หน่วยกิต

การจัดหลักสูตร

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2531 ที่สถานศึกษานำไปใช้จัดการเรียนรู้นั้น ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ ร สาระ คือ ทักษะการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิต และการพัฒนาสังคม โดยโครงสร้างหลักสูตรกำหนดจำนวนหน่วยกิตในแต่ละระดับทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ซึ่งผู้เรียนทุกคนต้องเรียนวิชาบังคับตามที่กำหนด เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ สำหรับวิชาเลือกให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและหรือกลุ่ม โดยเลือกเรียนในสาระการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้หนึ่งหรือหลายสาระการเรียนรู้ก็ได้ ให้ครบจำนวนหน่วยกิต ตามโครงสร้างหลักสูตรในแต่ละระดับตามความต้องการของผู้เรียนที่จะประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ

รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

รายวิชาบังคับ

การลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน

* ระดับประถมศึกษา ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต

* ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต

* ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระและมาดรฐานการเขียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

  1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้

           มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้

          มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้

          มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น

มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

  1. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้

          มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร

มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษา
และการสื่อสาร ซึ่งภามาในมาตรฐานนี้ หมายถึง ภายาไทย และภาษาต่างประเทศ

  1. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้

         มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทางตัดสินใจ  ประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพขอตนเอง

         มาตรฐานที่ 3.2 มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในอาชีพที่ตัดสินใจเลือก

         มาตรฐานที่ 3.3 มีความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม

         มาตรฐานที่ 3.4 มีความรู้ความเข้าใจ ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

  1. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้

          มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ในการคำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

          มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการคำเนินชีวิต

มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและสุนทรียภาพ

  1. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้

          มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ ในการคำรงชีวิต

           มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรมประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม

           มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนาและสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

วิธีการเรียน กศน.

วิธีการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีวิธีเดียว คือ ” วิธีเรียน กศน.” ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้

  1. ความพร้อม ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน
  2. ความพร้อมในการบริหารจัดการของสถานศึกษา
  3. ความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอน
  4. ความยากง่ายของรายวิชา

วิธีเรียน กศน. หลักสูตรการศึกบานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การเรียนรู้แบบชั้นเรียน และการเรียนรู้แบบอื่นๆ ซึ่งการเรียนรู้แต่ละรูปแบบ มีลักษณะดังนี้

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

เป็นวิธีที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้ของตนเองให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนโดยการค้นคว้าจากสื่อต่างๆ เช่นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ แบบเรียนสื่ออิเล็คทรอนิคส์ จากภูมิปัญญา หรือผู้รู้ โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

  • ลักษณะของผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
  1. มีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ได้เกิดจากการบังคับ
    2. ใช้ตนเองเป็นแหล่งข้อมูล นั้นคือผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ตนจะเรียนรู้คืออะไรรู้ว่าทักษะและ
    ข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้อะไรบ้างสามารถกำหนดเป้าหมาย วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ
    และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้ถึงความสามารถของตนเองตัดสินใจได้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทในการเป็นผู้เรียนรู้ที่ดี
  2. รู้วิธีการที่จะเรียนผู้เรียนควรทราบขั้นตอนในการเรียนรู้ด้วยตนเองว่าจะไปถึงจุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
  3. มีบุคลิกภาพเชิงบวก มีแรงจูงใจ และการเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อนหรือบุก
  4. 5. มีระบบการเรียน รู้ จักประยุกต์การเรียน และสนุกสนานกับกระบวนการเรียน
  5. มีการเรียนจากข้อผิดพลาดและความสำเร็จมีการประเมินคนเอง และเข้าใจศึก
  6. มีความพยายามหาในการหาวิธีการใหม่ๆเพื่อหาคำตอบ
  • ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้ด้วยคนเอง
  1. ผู้เรียนมีความสมัครใจ มีความพร้อม ศึกษาวิธีเรียนให้เข้าใจขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    มีความรับผิดชอบ
  2. ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน
  3. ผู้เรียนกำหนดสื่อที่จะเรียนรู้ด้วยคนเอง เช่น เอกสารแบบเรียน แหล่งเรียนรู้ รู้โทรทัศน์ ฯลฯ
  4. จัดทำสัญญาการเรียนรู้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างครูและผู้เรียน
  5. 5. พบครู ขอคำปรึกบา ข้อแนะนำในการเรียน 2-4 ครั้ง/ภาคเรียน

 

  1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม

เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมาพบกลุ่มตามเวลาที่นัดหมาย สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงโดยมีครูเป็นผู้
คำเนินการให้เกิดกระบวนการกลุ่ม และมีการนัดหมายการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องทำระหว่างสัปดาห์

มีการนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่มที่เป็นกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาข้อสรูปร่วมกันเหมาะกับผู้ที่พอมีเวลามาพบกลุ่มในแต่ละสัปดาห์

  • ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
  1. จัดพบกลุ่มในรายวิชาที่ยากปานกลาง
  2. เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับครู
  3. ผู้เรียนศึกษาค้นคว้างานเคี่ยว งานกลุ่ม ทำโครงงาน
  4. ครูจัดกระบวนการกลุ่มที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม ควรดำเนินการ
  1. การนำเสนอผลงานการค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่ม ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายจากการพบกลุ่มสัปดาห์ที่แล้ว ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
    2. ครูจัดการเรียนการสอนตามสาระการเรียนรู้ ที่ได้วางแผนร่วมกันไว้แล้วระหว่างครูและผู้เรียน
    และอาจสอนเพิ่มเติมในบางเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องการ หรือจัดสอนเสริมนอกเหนือเวลากลุ่ม ในเนื้อหาวิชาที่ยาก เช่น คณิตศาสตร์ ภายาอังกฤษ วิทยาศาสตร์
  2. มีการนำเสนอโครงงาน ความก้าวหน้าในการทำโครงงาน เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นและครู

ช่วยกันวิเคราะห์

  1. มีการสอบบ่อย (Quiz ) เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา
  2. 5. ฝึกกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ “คิดเป็น “กับผู้เรียน โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น เสริมแรง
  3. การฝึกให้ผู้เรียนได้แสดงออก เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น

การฝึกพูดในโอกาสต่างๆ

  1. ครูวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามช่วยเหลือผู้เรียน
  2. การเรียนรู้แบบทางไกล

เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นักศึกษาไม่จำเป็นต้องมาพบครู แต่นักศึกษาและครูจะสื่อสารกันทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์ นักศึกษาจะส่งงาน ส่งเอกสารการกันคว้า ส่งแบบฝึกหัด สื่อสารทาง E-mail, Chat room
กับครู โดยครูและนักศึกษาจะสื่อสารตามเวลาที่กำหนดนัดหมายกัน มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบ e -learning

  • ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบทางไกล
  1. ผู้เรียนต้องมีเครื่องมือที่สามารถสื่อสาร และใช้อุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
  2. มีเวลาสื่อสารทางสื่ออิเลคทรอนิคส์กับครูตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
  • การเรียนรู้แบบทางไกล ควรดำเนินการ ดังนี้
  1. ศึกษาแนวทางการเรียนรู้แบบทางไกลจากสื่อต่างๆ
  2. เรียนรู้จากสื่อทางไกลตามที่สถานศึกษากำหนด
  3. การประเมินความรู้ก่อนเรียนของตนเอง
  4. การศึกษาเนื้อหาสาระจากสื่อต่างๆ และส่งงานตามที่กำหนด
  5. 5. การสื่อสารกับครูตามวันเวลาที่กำหนด
  6. การประเมินความรู้หลังเรียนของตนเอง
  7. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน

เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดรายวิชา เวลาเรียนและสถานที่ ที่ชัดเจนโดยกำหนดเป็นตารางสอนไนรายวิชานั้นๆ นักศึกษาต้องเข้าเรียนคามคารางสอนที่ครูกำหนคดโดยวิธีการจัดการเรียนรู้วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีเวลาเข้าชั้นเรียน

  • ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบชั้นเรียน
  1. สถานศึกษากำหนดตารางเรียน สถานที่เรียนที่เหมาะสม
  2. มีการประชาสัมพันธ์ สถานที่ วัน เวลา ครูผู้สอน ให้ผู้เรียนทราบทั่วกัน
  3. สถานศึกมาจัดสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ที่มีคุณภาพและเหมาะสมให้กับผู้เรียน
  4. ผู้เรียนมีเวลาเข้าขั้นเรียนตามที่กำหนดในตารางเรียน
  • การเรียนรู้แบบชั้นเรียน ควรดำเนินการ ดังนี้
  1. การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยมีครู หรือผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้นๆ เป็นผู้สอน
  2. การจัดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบพร้อมใช้กิจกรรมที่เน้นการสื่อสาร เช่น กิจกรรมคู่ กิจกรรมกลุ่ม
  3. ครูควรสอดแทรกกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน ได้รับทราบข้อมูล/ข้อเท็จจริง กิจกรรมที่

ผู้เรียนไห้ลงมือปฏิบัติสังเกต และกิจกรรมที่สะท้อนการเรียนรู้ระหว่างครูและผู้เรียน

  1. การติดตามและช่วยเหลือผู้เรียน โดยอาจใช้กระบวนการติดคามช่วยเหลือผู้เรียนโดยเพื่อน
    กลุ่มเพื่อน จัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างครูกับผู้เรียน

การเรียนรู้แบบต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เป็นรูปแบบวิธีที่ผู้เวียนสามารถเลือกวิธีการเวียนรู้ในแต่ละรายวิชาได้ โดยเลือกตามความต้องการที่เหมาะสมกับเวลา เหมาะสมกับคนเอง และเหมาะสมกับรายวิชาที่เรียนซึ่งในแต่ละวิธีเรียนจะมีการวัดผลประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในรูปแบบต่างๆ แดกต่างกันออกไปคามความเหมาะสมของรายวิชานั้นๆ

 

 

การจัดกระบวนการเรียนรู้

การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระคับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ ตามปรัชญาพื้นฐานของการศึกษานอกโรงเรียน คิดเป็น โดยมีกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้

  1. ครู กศน. เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นรายกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย
    และรายบุคคล ในขณะเคียวกันครูและผู้เรียนต้องร่วมกันในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันอันจะทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ

กำหนดความต้องการ สภาพปัญหา โดยผู้เรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

  1. ผู้เรียนใช้วิธีการเรียนรู้หลายวิธีผสมกันทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล
    การพบกลุ่ม การเข้าค่าย การสอนเสริม หรือ การเรียนโดยโครงงาน การเรียนรู้ที่หลากหลาบวิธีจะต้องมีแผนการเรียนรู้ โดยครูและผู้เรียนจัดทำสัญญาการเรียนรู้ร่วมกัน และครูจะเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามแผนและบรรลุเป้าหมาย

3.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เหมาะสมกับวัฒนธรรมและสังคม

  1. ประเมิน และทบทวนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แล้วสรุปเป็นความรู้ใหม่ พร้อมกับ
    เผยแพร่ผลงาน

สื่อการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้สื่อหลากหลาย

ลักษณะของสื่อที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิคส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งการเรียนรู้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชน และแหล่งอื่นๆ ผู้เรียน ผู้สอน สามารถจัดทำ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเองหรือนำสื่อต่างๆที่มีอยู่รอบตัว และระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้สื่อต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า น่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เข้าใจง่าย รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง สื่อวิชาเลือกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิชาเลือกบังคับ และวิชาเลือกเสรี

  1. สื่อวิชาเลือกบังดับกลุ่มพัฒนาการศึกมานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดทำต้นฉบับ
  2. สื่อรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกพาจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรี แล้วเสนอให้คณะกรรมการของ สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียน สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มสาระในแต่ละระคับการศึกนา จากนั้น สำนักงาน กศน. จึงขอรหัสราบวิชาเลือกจากระบบโปรแกรมรายวิชาเลือก หรือจัดซื้อหนังสือวิชาเลือกของสำนักพิมพ์หรือบริษัทเอกชน ที่ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพจากสำนักงาน กศน.

 

 

 

 

การเทียบโอนผลการเรียน

สถานศึกษาต้องจัดให้มีการเทียบโอนผลการเรียนหรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

ของผู้เรียน ให้เป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยสถานศึกษาต้องจัดทำระเบียบหรือแนวปฏิบัติการเทียบโอนให้สอดคล้องกับแนวทางการเทียบโอนที่สำนักงาน กศน. กำหนด

การเทียบโอนผลการเรียน คือ การนำผลการเรียนซึ่งเป็นความรู้ ทักษะและประสบการณ์

ของนักศึกษาที่เกิดจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาประเมินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การเทียบโอนผลการเรียนมีประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างไร

การเทียบโอนผลการเรียนเป็นการยอมรับและให้คุณค่าความรู้และประสบการณ์เดิมของนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาดังต่อไปนี้

  1. ไม่ต้องเรียนในหมวดวิชาที่ได้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
    2. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษา
    3. สามารถจบการศึกษาได้เร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

ประเภทของการเทียบโอนผลการเรียน

การเทียบโอนผลการเรียน ดามหลักสูตรการศึกพานอกระบบระคับการศึกพาชั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มีขอบข่ายดังนี้

  1. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรที่ขัคการศึกษาเป็นระดับประถนศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายหรือเทียบเท่า ที่มีหลักฐานมาแสดง

หลักฐานผลการเรียน เป็นหลักฐานที่แสดงรายละเอียดว่านักศึกษาได้ผ่านการศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่รัฐให้การรับรองทุกประเภท เป็นผู้ชัดซึ่งมีรายละเอียดขอบข่ายเนื้อหา ระยะเวลาการเรียนและผลการเรียนแสคงไว้ เช่น ระเบียนแสคงผลการเรียน สมุดประจำตัว ประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร เป็นต้น

  1. การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกยาต่อเนื่อง

เป็นการเทียบโอนผลการเรียนจากการเรียนในหลักสูตระยะสั้น หรือหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดขึ้นตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด่างๆ

  1. การเทียบโอนผลการเรียนจากความรู้และประสบการณ์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

เป็นการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ จากการเป็นทหารกองประจำการอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น เป็นด้น

  1. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ
  2. 5. การเทียบโอนผลการเรียนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์

เป็นการเทียบโอนผลการเรียน โดยใช้วิธีการประเมินความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
ซึ่งมีการเรียนรู้จากการศึกษาตามอัธยาศัย การประกอบอาชีพ การทำงาน โดยอาจมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากการทำงาน หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีหลักฐานก็ได้

หลักฐานที่ใช้ในการเทียบโอน

  1. ระเบียนแสดงผลการเรียนในระดับชั้น หรือภาคเรียนสุดท้ายที่เรียนมา

เช่น ป.4, ป.5. ม.1, ม.2, ม.4, ม.5, เกรด 7, 8, 10, 11 เป็นด้น

  1. หลักฐานการเป็นสมาชิกหรือประสบการณ์อาชีพกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต่าง ๆ ได้แก่

2.1 หลักฐานการเป็นทหารกองประจำการ

2.2 หลักฐานการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข

2.3 หลักฐานการเป็นผู้นำท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น

2.4 หลักฐานการผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

2.5 หลักฐานการผ่านกิจกรรมศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ(กพช.) หรือวิสาหกิจชุมชน(วสช.)

                 อายุของหลักฐานการศึกษา

– หลักฐานผลการเรียนจากการศึกมาจากหลักสูตรที่จัดเป็นระดับการศึกบาทั้งการศึกษา

ในระบบและการศึกษานอกระบบไม่กำหนดอายุของผลการเรียน

– รายวิชาใดที่ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่หลักสูตรกำหนด สามารถเก็บผล

การเรียนสะสมได้ 5 ปี นับจากวันอนุมัติผลการเรียน หรือหลักฐานจากการศึกษาต่อเนื่องควรกำหนดอายุของผลการเรียนให้เหมาะสมกับพื้นฐานธรรมชาติวิชา ความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ตามที่คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษา กำหนด

– หลักฐานอื่น 1 เช่น ถ่ายภาพ ถ้วยรางวัล ชิ้นงาน เป็นต้น

– การเทียบโอนผลการเรียนที่ไม่มีหลักฐานมาแสดงกรณีที่ไม่มีหลักฐานมาแสดงแต่นักศึกษามั่นใจว่าตนเองมีความรู้ ความสามารถขอประเมิน ซึ่งใช้วิธีการที่หลากหลาย ดังนี้

1) การสัมภาษณ์

2) การสังเกต

3) การทำแบบทดสอบ

4) การปฏิบัติจริง

                 การเทียบโอนจะทำอย่างไร

  1. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียนจากคู่มือนักศึกษาหรือปรึกษาครู

ศูนย์การเรียนชุมชน ว่าเทียบโอนได้หรือไม่

  1. ถ้าได้ให้นักศึกษาชื่นแบบแสดงความจำนงขอเทียบโอนผลการเรียน พร้อมขึ้นทะเบียน

เป็นนักศึกษาในเทอมแรก

 

 

 

 

 

 

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผล มี 2 ระดับ คือ

  1. การประเมินผลในระดับสถานศึกษา เป็นการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียน

เป็นรายวิชา ประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และประเมินคุณธรรม

  1. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ สถานศึกษาต้องขัดให้ผู้เรียน

ข้ารับการประเมินในภาคเรียนสุดท้ายก่อนสอบปลายภาคของภาคเรียนนั้นๆ โดยไม่มีผลต่อการได้
หรือตกของผู้เรียน

กรอบการวัดและประเมินผลการเรียน

การวัดและประเมินผลจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. วิชาบังคับ สำนักงาน กศน. กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคเรียนและปลายภาค

เรียน เป็น 60 : 40 โดยวัตผลในเนื้อหาที่ต้องรู้ เฉพาะเนื้อหาที่ต้องรู้จะสอดคล้องกับการสอบ N-net ด้วย

  1. วิชาเลือกบังคับ กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคและปลายภาค คือ 60 : 40

โดยกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบจะเป็นผู้รับผิดชอบคำเนินการ และจัดทำแบบทดสอบ ทั้งนี้

เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

  1. วิชาเลือกเสรี สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผล

การเรียน โดยเพิ่ม เกณฑ์การวัดและประเมินผล

ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  1. การวัดและประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชา เป็นการประเมินเพื่อทราบความก้าวหน้า

ทั้งค้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมจริยธรรม อันเป็นผลมาจาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่นการสังเกต การสัมภาษณ์ การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานการเรียนรู้ ประเมินการปฏิบัติจริง ทดสอบย่อย ประเมินจากกิจกรรมโครงงาน หรือแบบฝึกหัด เป็นต้น การกำหนดคะแนนระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนด โดยการวัคผลระหว่างภาคเรียนสถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับการวัคผลปลายภาคเรียนให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กศน.กำหนด

สถานศึกมาควรดำเนินการประเมินผลรายวิชาดังนี้

1.1 การวัดและประเมินผลก่อนเรียน เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ ทักษะความพร้อมต่างๆของผู้เรียน เพื่อเป็นขัดมูลพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อม และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน

1.2 การวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าทั้งค้านควานรู้ ทักษะ เจตติ และพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและผลงาน อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.3 การวัดและประเมินผลปลายภาคเรียน เพื่อทราบวัตถุประสงค์ผลการเรียนรู้โดยรวม

ของผู้เรียนที่ได้เรียนตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา โดยอาจใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามลักษณะของรายวิชา เช่น แบบทดสอบปรนัย แบบทดสอบอัตนัยแบบประเมินการปฏิบัติ เป็นต้น

 

1.4 การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่านการเรียนในรายวิชานั้น แล้วนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดเพื่อให้ค่าระดับผลการเรียน

                 การให้ค่าระดับผลการเรียนให้กำหนดเป็น 8 ระดับ ดังนี้

ได้คะแนนร้อยละ 80 – 100 ให้ระดับ 4 หมายถึง ดีเยี่ยม

ได้คะแนนร้อยละ 75 – 79 ให้ระดับ 3.5 หมายถึง ดีมาก

ได้คะแนนร้อยละ 70 – 74 ให้ระดับ 3 หมายถึง ดี

ได้คะแนนร้อยละ 65 – 69 ให้ระดับ 2.5 หมายถึง ค่อนข้างดี

ได้คะแนนร้อยละ 60 – 64 ให้ระดับ 2 หมายถึง ปานกลาง

ได้คะแนนร้อยละ 55 – 59 ให้ระดับ 1.5 หมายถึง พอใช้

ได้คะแนนร้อยละ 50 – 54 ให้ระดับ เ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด

ได้คะแนนร้อยละ 0 – 49 ให้ระดับ  หมายถึง ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด

  1. การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการจบหลักสูตร

ในแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งผู้เรียนทุกคนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

  1. การประเมินคุณธรรม เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกมากำหนด จึงจะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา

คุณธรรมเบื้องต้นที่สำนักงาน กศน. กำหนด เพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินมีจำนวน 11 คุณธรรม ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน ประกอบด้วย

– สะอาด

– สุภาพ

– กตัญญูกตเวที

กลุ่มที่ 2 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน ประกอบด้วย

– ขยัน

– ประหยัด

– ซื่อสัตย์

กลุ่มที่ 3 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม ประกอบด้วย

– สามัคคี

– มีน้ำใจ

– มีวินัย

กลุ่มที่ 4 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ

– รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และรักความเป็นไทย

– ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

  1. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (National Test) สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในภาคเรียนสุดท้ายของทุกระดับการศึกษาได้เข้ารับการประเมินคุณภาพ

การศึกษานอกระบบระดับชาติ ในสาระการเรียนรู้ตามที่สำนักงาน กศน. กำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ไม่มีผลต่อการได้หรือตกของผู้เรียน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้จาก
การประเมินไปใช้วางแผนปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา

 

 

********************

 

 

การจบหลักสูตร

ผู้จบการศึกษาคามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในแต่ละระดับการศึกษา ด้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร ดังนี้

  1. เกณฑ์การประเมิน และได้รับการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทั้ง
    5 สาระการเรียนรู้ และได้ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามโครงสร้างหลักสูตร
  2. ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.) ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
  3. ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ ขึ้นไป
  4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (National Test)

                 หลักฐานการขอจบหลักสูตร

เมื่อนักศึกษาได้รับการอนุมัติผ่านระดับการศึกษาและจบหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษา

จะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาพร้อมหลักฐาน ดังนี้

  1. เขียนใบคำร้องขอจบหลักสูตร
  2. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา

ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นรูปประเภทโพลารอยด์

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. วุฒิการศึกษาเดิม
  3. 5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นใบเปลี่ยนชื่อ – เปลี่ยนนามสกุล ใบทะเบียนสมรส(ถ้ามี)

 

การสมัครและลงทะเบียนเรียน

นักศึกมาที่ประสงค์จะสมัครเรียนเป็นนักศึกษาตามหลักสูตรการศึกมานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต้องทราบรายละเอียดของการสมัครและการลงทะเบียนเรียนดังนี้

  1. ระยะเวลาในการรับสมัคร

ภาคเรียนที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน

ภาคเรียนที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม

  1. การเปิด – ปิด ภาคเรียน

ภาคเรียนที่ 1 วันเปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม

วันปิดภาคเรียน 11 ตุลาคม

ภาคเรียนที่ 2 วันเปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน

วันปิดภาคเรียน 1 เมษายน

  1. คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน

1) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2548

2) เป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน

3) มีพื้นความรู้ในแต่ละระดับดังนี้

                 ระดับประถมศึกษา

ไม่จำกัดพื้นความรู้ สำหรับพระภิกขุ สามเณรจะต้องสอบไถ่ได้นักธรรมชั้นตรีมาก่อน

                 ระดับมัธยมศึกษาตอนด้น

สอบได้วุฒิหรือระดับชั้นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3 เดิม)
หรือประถมศึกษาปีที่ 7 (ป.7) หรือประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) หรือการศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 3 หรือการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับที่ 3 หรือหลักสูตรการศึกมานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา หรือระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 3 หรือวุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่า ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 หรือนักธรรมชั้นเอก หรือธรรมศึกมาเอก หรือใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสิทธิ

บางอย่าง หรือใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นประถมศึกมาปีที่ 7 เพื่อสิทธิบางอย่าง หรือเป็นผู้ที่เคยศึกมาหลักสูตรแต่งประเทศระดับชั้น (เกรด) การศึกมาปีที่ 7 หรือสอบไก่ไห้ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7 ผู้สอบตก ป.7 ปีการศึกมา 2520 ถือว่าได้ ป.6 สำหรับพระภิกษุ สามเณรจะต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นและต้องสอบได้ นักธรรมชั้นโท มาก่อน

                 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

สอบได้วุฒิหรือระดับชั้นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ มัธยมปีที่ 6 (ม.6 เดิม) หรือประโยคศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ.3) หรือมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) หรือการศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 หรือการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับที่ 4 หรือหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 หรือเปรียญธรรม 3 ประโยค หรือวุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 หรือใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อสิทธิบางอย่าง หรือเป็นผู้ที่เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศระดับชั้น(เกรด) การศึกษาปีที่ 10 หรือสอบไถ่ได้ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 10 หรือ ผู้สอบตก ม.ศ. 3 ปีการศึกษา 2523 ถือว่าได้ ม.3

สำหรับพระภิกษุ สามเณรจะสมัครเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้เป็นไปตามมติ
ของมหาเถรสมาคม

                 หลักฐานการสมัคร

สถานศึกษาจะต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาให้ถูกต้องกรบถ้วนดังนี้

  1. ใบสมัคร
  2. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป (หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ และไม่สวมหมวก สวมเสื้อ
    สีขาวมีปก หรือชุดสุภาพ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่ใช้รูปถ่ายประเกทโพลาลอยด์) เพื่อใช้ติดใบสมัคร 1 รูป ติดบัตรประจำตัว 1 รูป ติดสมุดประจำตัวนักศึกษา 1 รูป และสำหรับกิจกรรมที่จำเป็นอีก 1 รูป
  3. สำเนาทะเบียนบ้านตนเองที่มีชื่อ บิดา มารคา พร้อมฉบับจริงไปแสดง
  4. สำเนาหนังสือแสดงวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ เช่น ประกาศนียบัตร ระเบียนแสดงผลการเรียน พร้อมฉบับจริงไปแสดง
  5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมฉบับจริงไปแสดง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลใบทะเบียนสมรส ใบหย่าฯลฯ

                 สถานที่ในการสมัครเรียน

นักศึกษาสามารถสมัครเรียนได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้

  1. 1. ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล (กศน.ตำบล…..)
  2. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขศ.
  3. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด.

การย้ายสถานที่พบกลุ่ม และย้ายสถานศึกษา

  1. การย้ายสถานที่พบกลุ่ม

ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานที่พบกลุ่มต่อ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา

ตามอัธยาศัยอำเภอ ที่ตนสมัครเป็นนักศึกษาอยู่

– เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะไปพบกลุ่ม ณ สถานที่พบกลุ่มใหม่ได้

  1. การย้ายสถานศึกษา

– ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานศึกษา พร้อมแนบหลักฐานดังนี้

1) รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตขาวไม่มีลวดลาย
และอักษรปักใด 1 หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป(ไม่ใช้รูปถ่ายแบบด่วนหรือรูป โพลาลอยด์)

2) ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำ

ฉบับจริงมาแสดงด้วย

3) สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ

4) บัตรประจำตัวนักศึกษา

5) ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาด้วย

– ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ……จะออกใบระเบียน

แสดงผลการเรียนให้นักศึกษา เพื่อนำไปแสดงต่อสถานศึกษาใหม่ที่จะไปเรียน

 

 

 

 

 

การปฏิบัติตนของนักศึกษา

ผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัด กศน.เขต/อำเภอ…จะต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

  1. ต้องปฏิบัติดามระเบียบและข้อบังคับของสถานศึกมานั้นๆอย่างเคร่งครัด
  2. ต้องแต่งกายตามระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษานั้นๆอย่างเคร่งครัด
  3. ต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี
  4. ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีในหมู่คณะ
  5. 5. ต้องไม่ทำอันตรายหรือทำให้เสียหายชำรุด หรือบกพร่องซึ่งทรัพย์สินของสถานศึกษา
  6. ต้องไม่เล่นการพนัน และไม่นำพาอุปกรณ์การพนันมาในสถานศึกษา
  7. ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และสิ่งเสพติดในห้องเรียนโดยเฉพาะในสถานที่พบกลุ่ม
  8. ต้องไม่ประพฤติตนขัดต่อศีลธรรมอันดี
  9. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่สถานศึกษาที่ตนเองสังกัดอยู่
  10. ไม่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น

การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

นักศึกษาจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาเมื่อ

  1. สำเร็จการศึกษา
  2. ลาออก
  3. ตาย
  4. ออกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกมา
  5. 5. ไม่ลงทะเบียนเพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาเป็นเวลา 6 ภาคเรียนติดต่อกัน
    (กรณีที่นักศึกษาไม่สามารถลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนใด ภาคเรียนหนึ่งจะต้องลงทะเบียนรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาทุกภาคเรียน)

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ กพช. หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนให้นักศึกษาเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักทำ เป็นผู้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยนักศึกษาสามารถเลือกทักษะ และทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามความสนใจ หรือความถนัด เน้นการนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในแต่ละระดับการศึกษาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมแล้วไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง โดยมีขอบข่ายเนื้อหาทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

                 ทำไมต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะด้านการคิด ให้เป็นผู้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นรวมถึงสามารถนำความรู้ ทักได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคนเอง และผู้อื่น สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ไปยังบุคคล หรือองค์กรอื่นๆ ได้ รวมถึงต้องการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้มีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบ รู้จักเสียสละ เอ็อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีความซื่อสัตย์ สุจริค สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                 วัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

  1. เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่ม

1.1 มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน

1.2 เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ร่วมกัน

1.3 ฝึกทักษะการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น

  1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในกิจกรรมค่างๆ

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นกิจกรรมที่ต้องระคมความคิด เน้นการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนแต่ละขั้นตอนนักศึกษาจะต้องลงมือปฏิบัติเองโดยมีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้หรือนวดกรรมใหม่ๆ เกิดการพัฒนา เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆไปในทิศทางที่ดีขึ้น นักศึกษาสามารถนำความรู้ ทักพะที่ได้ไปพัฒนาตนเอง รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้นี้ให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นได้ด้วย

  1. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักศึกษา

3.1 รู้จักการทำงานเป็นทีม

3.2 มีน้ำใจ รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่

3.3 มีระเบียบวินัย มีความอดทน และรับผิดชอบ

3.4 มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่นำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง

                 เกณฑ์พิจารณาในการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต

เกณฑ์พิจารณาในการจัดทำกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกบา รวมถึงการกำหนดจำนวนชั่วโมง กพช. ในแต่ละกิจกรรม มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังต่อไปนี้

  1. ประโยชน์ที่ตนเอง และครอบครัวได้รับ ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่ตนเองและครอบครัวได้รับประโยชน์จาการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
  2. ประโยชน์ที่ชุมชน/สังคมได้รับ ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่ชุมชน สังคมได้รับประโยชน์ หรือได้รับบริการที่ช่วยเสริมสร้างมาตรฐาน หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง
    การปกครอง และอื่นๆ หรือไม่ รวมทั้งตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างไร
  3. การมีส่วนร่วมขององค์กร/ชุมชน ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่จัดแล้วชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ เละให้ความร่วมมือทั้งทางด้านความคิด แรงงาน วัสดุ/อุปกรณ์ และอื่นๆ หรือไม่ อย่างไร และมากน้อยเพียงใจ
  4. ความยากง่ายในการดำเนินงาน ให้พิจารณาที่ขนาดของกิจกรรม เงื่อนไข และขั้นตอน/

วิธีการในการดำเนินงานว่ามีความซับซ้อน ยากง่ายมากน้อยเพียงใด

  1. 5. ความร่วมมือของสมาชิก ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน หรือมีส่วนร่วมในการช่วยคิด ช่วยทำมากน้อยเพียงใด การแบ่งงานมีความเหมาะสม เป็นธรรมหรือ ไม่ และสมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด การทำงานร่วมกันมีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ และจากทำกิจกรรม ส่งผลทำให้เกิดความสามัคคี รักใคร่ปรองดอง และเอื้ออาทรกันในหมู่คณะมากน้อยเพียงใด
  2. ความเหมาะสมในการใช้เวลาปฏิบัติงาน ให้พิจารณาถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรม

ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด อย่างไร

  1. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้จริงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ มากน้อยเพียงใด อย่างไร
  2. มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้สมาการวางแผ่นการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีการแบ่งงานให้สมาชิกได้รับอย่างทั่วถึง และเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
  3. 9. การส่งเสริมค้านคุณธรรม จริยธรรม และการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมหรือไม่ อย่างไร รวมถึงได้สืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของไทยได้มากน้อยเพียงใด
  4. ผลสำเร็จของกิจกรรม ให้พิจารณาว่าเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มร่วมกันปฏิบัติบรรลุ

ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด และมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร

                 ข้อควรปฏิบัติในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

  1. ควรเป็นกิจกรรมที่เกิดจากความต้องการของนักศึกษาเอง
  2. ควรเป็นกิจกรรมที่เกิดประ โยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
  3. ควรเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัย ปราศจากความเสี่ยงใดๆทั้งสิ้น
  4. ควรเป็นกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เช่น กับเครือข่าย บุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
  5. 5. ขนาดของกิจกรรมควรมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับจำนวนผู้เข้าร่วม และควรเป็นกิจกรรมภายในพื้นที่จังหวัดหรือบริเวณใกล้เคียง
  6. ระยะเวลา/ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมควรมีความเหมาะสม โดยพิจารณาตามขนาด
    และความยากง่ายของกิจกรรม
  7. ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยไม่มีเหตุและผลอันควร

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคูณภาพชีวิต ( กพช.)

  1. ผู้เรียนที่ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
  2. แนบโครงการที่เขียนแล้ว พร้อมแบบคำร้อง แสดงความจำนง ขอทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขออนุมัติโครงการต่อสถานศึกษา โครงการประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.1 ชื่อโครงการ

2.2 หลักการและเหตุผล

– บอกเหตุผลและความจำเป็นหรือความสำคัญของโครงการ

2.3 วัตถุประสงค์

– ระบุว่าโครงการนี้ทำเพื่ออะไร เกิดประโยชน์อย่างไร

2.4 ขั้นตอนการคำเนินงาน

– บอกวิธีการทำงานว่าขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่เริ่มทำโครงการจนสิ้นสุดโครงการ

2.5 สถานที่ดำเนินงาน

– ระบุสถานที่ที่จะดำเนินการ

2.6 ระยะเวลา

– ระบุว่า โครงการที่จะปฏิบัตินั้นเริ่มและสิ้นสุดวันใด

2.7 งบประมาณ

– ตั้งงบประมาณหรือองค์ประกอบที่จะทำให้โครงการบรรลุผลสำเร็จตาม

วัตถุประสงค์และเป้าหมายเช่นวัสดุ แรงงาน

2.8 ผู้รับผิดชอบโครงการ

– ระบุผู้รับผิดชอบโครงการว่ามีใครบ้าง กี่คน

2.9 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

– ระบุว่าจากการทำโครงการนั้น คาดว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

3.เมื่อสถานศึกษาอนุมัติโครงการแล้ว ให้ผู้เรียนนำโครงการดังกล่าวมาดำเนินงานโดยอยู่ในการกำกับคูแลของครู และคณะกรรมการ

  1. เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้จัดทำรายงานการคำเนินงานต่อสถานศึกษา เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติงาน

แฟ้มสะสมงานนักศึกษา(Student Portfolio

หมายถึง แฟ้มที่เก็บหลักฐานผลงานของนักศึกษา ที่ทำการสะสมงานอย่างเป็นระบบมีจุดมุ่งหมาย แสคงถึงความสามารถ พัฒนาการ ความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ ในส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของการเรียนรู้ในวิชาเรียน ยังเป็นหลักฐานที่สะท้อนการประเมินคนเองของนักศึกษาด้วย

                 ความสำคัญของแฟ้มสระสมงานนักศึกษา

1.เป็นเครื่องมือประเมิน สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้
หลากหลายวิชา

  1. ส่งเสริมความสนใจในการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติในแต่ละรายวิชา ตลอดจนทำให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  2. ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนที่สะสมมาคลอดภาคเรียนหรือตลอดปีการศึกษา
  3. เป็นเครื่องมือที่บอกความสามารถที่แท้จริง และกระตุ้นชักนำให้ผู้เรียนประเมินผลการทำงานตลอดจนค้นพบความก้าวหน้าของตนเอง
  4. 5. ประเมินผลที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการสร้างผลงาน และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้เรียน

ขาดหรือบกพร่อง

  1. ประเมินผลที่เน้นความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนมากกว่าการนำไปเปรียบเทียบกับ

ความสามารถของผู้อื่น

  1. ประเมินผลเพื่อนำไปใช้ประกอบการให้ระดับคะแนน ในรายวิชาต่างๆ และประเมินคุณธรรมด้านต่างๆของนักศึกษา

                 องค์ประกอบการจัดทำแฟ้มสะสมงานนักศึกษา

ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย

+ ปก(ปกนอก,ปกใน สามารถตกแต่งให้สวยงามได้)

+ คำนำ(เขียนบรรยายที่มีและความสำคัญของการทำแฟ้มสะสมงานของตนเอง)

+ สารบัญ(ลำคับหัวข้อแต่ละหน้าของแฟ้ม)

                 ส่วนที่ 2 ข้อมูลส่วนตัว ประกอบด้วย

+ ประวัติส่วนตัว(ตกแต่งให้สวยงามได้ตามความเหมาะสม)

+ ชื่อ-สกุล

+ วันเดือนปี เกิด

+ ที่อยู่ปัจจุบัน

+ ชั้นเรียนประจำปีการศึกษาปัจจุบัน

+ ชื่อสถานที่พบกลุ่ม

+ คติพจน์ในการเรียน

+ ความสามารถพิเศษ

+ งานอดิเรกต่างๆ

                 ส่วนที่ 3 ผลงานที่ภาคภูมิใจ ประกอบด้วย

+ การเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนกิจกรรมที่ โรงเรียนจัดขึ้น เช่น งานวันวิทยาศาสตร์

งานวันภามาไทย งานโรงเรียน งานกิจกรรมต่างที่นักศึกษา ได้มีส่วนร่วม และเกิดความภูมิใจอาจจะเก็บเป็นภาพถ่ายมีการบรรยายพอประมาณ หรือเก็บหลักฐานที่บ่งบอกให้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของคนเองในกิจกรรมนั้นเช่น เกียรติบัตร ผลการแข่งขัน เป็นต้น)

+ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน(อาจจะเป็นกิจกรรมที่เรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

เช่น เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนอื่น หรือหน่วยงานอื่นที่เขาจัดขึ้น การเข้าร่วมการแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ การแข่งขันกีฬาต่างๆ เป็นต้น)

+ การแสดงกิจกรรมต่างๆตามศักยภาพ ความถนัด และความสนใจ(เช่น การเข้าร่วมแสดงละครเวที การแสดงลีลาศ ร้องเพลง ประกวดหนูน้อย หรือมีกิจกรรมการแสดงตามงานต่างๆของหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น)

+ การร่วมพิธีกรรมทางศาสนา(ในส่วนนี้จะทำให้เราดูดี มีมารยาทดีในศาสนาที่ตนเองนับถือ อีกทั้งบังคูเป็นคนที่มีศีลธรรมประจำใจ ดังนั้นในส่วนนี้จะส่งเสริมให้ตัวเรานั้นมีความดีอยู่ในตนเอง
ไม่เป็นคนกระด้างกระเดื่อง การแสดงหลักฐานในส่วนนี้อาจจะเป็นภาพถ่ายจากการเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆ
ที่ตนเองเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้ก็ได้)

+ ผลงานที่ได้รับรางวัล การสอบแข่งขัน การแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ การตอบปัญหาและการประกวดของหน่วยงานต่างๆ (ส่วนนี้จะเป็นการบอกความสามารถของเราว่าเป็นผู้ที่มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด

                 ข้อคิดในการทำแฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษา

ในการคัดเลือกชิ้นงานหรือผลงานมาลงหรือใส่ในแฟ้มไม่จำเป็นต้องเอามาทุกชิ้น แต่ให้
พิจารณาคัดเลือกงานที่เราคิดว่าดีที่สุดในแต่ละด้าน ด้านละ 1-2 ชิ้นก็ได้ ถ้ามีผลงานหลายด้านมันก็จะเป็นการบอกว่าเรามีความสามารถหลายด้าน

 

********************************

 

 

การปฏิบัติตนในการเข้าสอบ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

ว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ.2548

โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปฏิบัติ ของผู้เข้าห้องสอบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ดังนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติ ของผู้เข้าสอบ
พ.ศ. 2548”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ. 2506

ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่กำกับการสอบสำหรับการสอบทุกประเภทในส่วนราชการ และสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้หมายความรวมถึงผู้เข้าสอบในสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแล หรือสถานศึกมาที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการด้วย ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุคมศึกษาเอกชน

ข้อ 4 ผู้เข้าสอบต้องปฏิบัติดังนี้

4.1 การแต่งกาย ถ้าเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษาแล้วแต่กรณี ถ้าเป็นผู้สมัครสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม

4.2 ผู้เข้าสอบจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่ต้องตรวจสอบให้ทราบว่าสถานที่สอบอยู่ ณ ที่ใด ห้องใด

4.3 ไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาเริ่มสอบตามสมควร ผู้ใดไปไม่ทันเวลาลงมือสอบวิชาใด ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบวิชานั้น แต่สำหรับการสอบวิชาแรกในตอนเช้าของแต่ละวัน ผู้ใดเข้าห้องสอบหลังจากเวลาลงมือสอบแล้ว 15 นาที จะไม่ได้รับอนุญาตให้สอบวิชานั้น เว้นแต่มีเหตุความจำเป็นให้อยู่ในดุลพินิจของประธานคำเนินการสอบพิจารณาอนุญาต

4.4 ไม่เข้าห้องสอบก่อนได้รับอนุญาต

4.5 ไม่นำเอกสาร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องสื่อสารไค ๆ เข้าไปในห้องสอบ

4.6 นั่งตามที่กำหนดให้ จะเปลี่ยนที่นั่งก่อนได้รับอนุญาตไม่ได้

4.7 ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวกับการสอบและคำสั่งของผู้กำกับการสอบโดยไม่ทูจริตในการสอบ

4.8 มิให้ผู้เข้าสอบอื่นคัดลอกคำตอบของตน รวมทั้งไม่พูดคุยกับผู้ใดในเวลาสอบ เมื่อมีข้อสงสัยหรือมีเหตุความจำเป็นให้แจ้งแต่ผู้กำกับการสอบ

4.9 ประพฤติตนเป็นสุภาพชน

4.10 ผู้ใครสอบเสร็จก่อน ผู้นั้นต้องออกไปห่างจากห้องสอบ และไม่กระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนแก่ผู้ที่ยังสอบอยู่ แต่ทั้งนี้ผู้เข้าสอบทุกคนจะออกจากห้องสอบก่อนเวลา 20 นาที หลังจากเริ่มสอบสอบวิชานั้นไม่ได้

4.11 ไม่นำกระดาษสำหรับเขียนคำตอบที่ผู้กำกับการสอบแจกให้ออกไปจากห้องสอบ

ข้อ 5 ผู้เข้าสอบกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อ 4 หรือพยายามกระทำการทุจริตในการสอบ

วิชาใดให้ผู้กำกับการสอบว่ากล่าวตักเตือน

ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกเข้าข่ายร้ายแรง เมื่อได้สอบสวนแล้วประธานกรรมการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการสอบ สั่งไม่ตรวจคำตอบ และถือว่าผู้นั้นสอบไม่ผ่านวิชานั้นในการสอบคราวนั้น

ข้อ 6 ผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำการทุจริตในการสอบวิชาใด เมื่อได้สอบสวนแล้ว เมื่อได้สอบสวนแล้วประธานกรรมการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการสอบ สั่งไม่ตรวจคำตอบ และถือว่าผู้นั้นสอบไม่ผ่านวิชานั้นในการสอบคราวนั้น

ข้อ 7 ในกรณีทุจริตในการสอบด้วยวิธีคัดลอกคำตอบระหว่างผู้เข้าสอบด้วยกันให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เข้าสอบนั้น ได้สมคบกันกระทำการทุจริต

 

—————————-

การเตรียมตัวเพื่อเข้าสอบ

สิ่งที่นักศึกษาต้องเตรียม…เมื่อเข้าสอบ

  • บัตรประจำตัวนักศึกษา
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ดินสอ 2 B
  • ยางลบดินสอ
  • ปากกา
  • ไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบประมาณ 30 นาที
  • ตรวจสอบวิชาที่เข้าสอบ เวลาที่สอบให้ชัดเจน

การปฏิบัติตนเมื่อสอบเสร็จแล้ว

เมื่อนักศึกษาสอบปลายภาคเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ติดตามผลการสอบปลายภาคกับครูผู้สอน ตามกำหนดที่ครูนัดหมายทุกครั้ง
  2. เมื่อรู้ผลการสอบปลายภาคแล้ว กรณีสอบผ่านทุกรายวิชา
    – นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนต่อไปกับครูผู้สอนให้เรียบร้อยภายใน
    ระยะเวลาที่ครูกำหนด หรือนัดหมาย
  3. กรณีที่นักศึกษาสอบไม่ผ่าน ในรายวิชาที่สอบปลายภาค

– นักศึกมาต้องติดตามเพื่อลงทะเบียนสอบซ่อม/ ประเมินซ่อมในรายวิชาที่นักศึกษา
สอบไม่ผ่าน เพื่อให้ทันตามระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด

– ติดตาม วัน /เวลา / สถานที่ ที่สถานศึกษากำหนดสอบซ่อม / ประเมินซ่อม

  1. ติดตาม วัน / เวลา เปิดเรียนในภาคเรียนต่อไปกับครูผู้สอน เพื่อความพร้อมในการพบกลุ่มในภาคเรียนถัดไปการเตรียมตัวเพื่อเข้าสอบ

—————————-

Categories:

Tags:

This will close in 20 seconds