ประเภทร้อยแก้ว 

ร้อยแก้ว

บทร้อยแก้ว  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า  คือ  ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย  ซึ่งยากกว่าการเขียนร้อยกรองนัก  บทร้อยแก้วของไทยเราที่้เป็นที่รู้จักและน่าภาคภูมิใจ  ได้แก่  ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถา  เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย)  เขียนเป็นบทร้อยแก้ว  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคำสอนในพุทธศาสนา

งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ งานเขียนที่ไม่มีบังคับในการแต่ง ผู้เขียนมีอิสระในการเลือกใช้คำสำนวนโวหาร ท่วงทำนองของการเขียน และวิธีนำเสนอต่าง ๆ

ชนิดของงานเขียนร้อยแก้ว

๑. นวนิยาย  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้นิยามของนวนิยายไว้ว่า “เรื่องยาวที่แต่งขึ้นเป็นแบบร้อยแก้วจากชีวิตจริง นิทานพื้นบ้านพื้นเมือง จินตนาการ หรือประสบการณ์ เป็นต้น” นอกจากความหมาย กว้าง ๆ ดังกล่าวแล้ว สมพร มันตะสูตร ยังได้กล่าวถึงองค์ประกอบเฉพาะของนวนิยายไว้ว่า อย่างน้อยที่สุด น่าจะมี ๘ ประการ คือ
๑) โครงเรื่อง
๒) แก่นเรื่อง
๓) บทสนทนา
๔) ฉากหรือบรรยากาศ
๕) ทัศนคติของผู้แต่ง
๖) ท่วงทำนองการแต่ง
๗) ตัวละคร
๘) กลวิธีในการแต่งและกลวิธีในการเสนอเรื่อง

๒. เรื่องสั้น  งานเขียนประเภทเรื่องสั้นมีลักษณะคล้ายกับนวนิยายแต่สั้นกว่า ประภาศรี สิหอำไพ กล่าวถึงเรื่องสั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า “เรื่องสั้น คือ วิกฤตการณ์ที่มีเหตุสัมพันธ์ต่อเนื่องไปสู่ผล ซึ่งเรียกว่า จุดสุดยอดของเรื่องมีลักษณะการดำเนินเรื่องที่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว มีผลอย่างเดียว ใช้เวลาในการเดินเรื่องสั้นรวดเร็ว มีทั้งเรื่องสั้นขนาดยาว และเรื่องยาวขนาดสั้น มีโครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก และบทสนทนาที่รัดกุม กระชับ ไม่มีรายละเอียดมากนัก”

๓. สารคดี  คือ งานเขียนที่เขียนขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จินตนาการ นอกจากนี้ สนิท ตั้งทวี ยังได้กล่าวไว้เป็นเชิงขยายความอีกว่า  หมายถึง งานเขียนที่ผู้แต่งเจตนาให้สาระความรู้เป็นสำคัญ และให้ความเพลิดเพลินเป็นอันดับรองลงมา เนื้อหาในสารคดีนั้นผู้เขียนจะเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  ด้วยการใช้ภาษาร้อยแก้วที่สละสลวยชวนให้อ่าน สารคดีแบ่งออกเป็น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ และสารคดีอัตชีวประวัติ สารคดีวิชาการ บทความ จดหมายเหตุ บันทึก อนุทิน บทปาฐกถา บทบรรยาย บทสัมภาษณ์ บทวิจารร์ นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสืออ้างอิง  สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม หรืออภิธานต่าง ๆ มักจัดแยกไว้จากสารคดี แต่โดยหลักการใหญ่แล้ว ก็เป็นประเภทให้ความรู้ เป็นสารคดีนั่นเอง”

๔. ข่าว  คือ งานเขียนที่มีลักษณะเรียบเรียงรายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง เปลื้อง ณ นคร ได้กล่าวไว้ว่า “ตามปรกติการเสนอข่าวแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ
๑) เสนอเนื้อข่าวแท้  คือ เสนอแต่เฉพาะเนื้อหาของข่าว เลือกเอาแต่เฉพาะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
๒) เสนอข่าวเรื่อง  หนังสือพิมพ์ต้องการให้ผู้อ่านสนุกขบขัน ตื่นเต้น หรือสลดใจในข่าวที่เกิดขึ้น

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว  จะอ่านออกเสียงแบบธรรมดา  เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราว  การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วนี้ใช้กันมากในชีวิตประจำวัน  โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพอ่านข่าว  อ่านรายงาน  อ่านบทความทางวิทยุ  โทรทัศน์  หรือบุคคลที่อ่านสุนทรพจน์  เป็นต้น  ผู้อ่านจะต้องอ่านให้น่าฟัง  ใช้เสียงพูดธรรมดา  แต่มีการเน้นถ้อยคำเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ  และเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน  สามารถรับสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

คำไทย

คำไทย เป็นอย่างไร

    ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน มีการยืมภาษาอื่นมาผสมผสานปรับปรุงจนกลายเป็นรูปแบบภาษาของตนเอง ในการคำความเข้าใจภาษาไทยจึงไม่แปลกที่เราจะต้องมาดูลักษณะของคำไทยแท้ว่ามีลักษณะเช่นไร
คำไทยแท้จะมีพยางค์เดียว สะกดง่ายๆ ตรงตามมาตรา เช่น หมาก ผอม กลม ตา สูง ดิน ปล้น พ่อ หู ขาว ปาก พี่ ลูก โง่ ดี น้อง น้ำ ไป แม่ ฯลฯ ถ้ามี ๒ พยางค์ก็มาจาก ๓ สาเหตุคือ กร่อนเสียง แทรกเสียงและเติมพยางค์
กร่อนเสียง เช่น   ฉะนั้น   กร่อนมาจาก ฉันนั้น
ตะขบ   กร่อนมาจาก ต้นขบ
ตะเคียน กร่อนาจาก ต้นเคียน
มะพร้าว กร่อนมาจาก หมากพร้าว
มะม่วง  กร่อนมาจาก หมากม่วง
มะปราง กร่อนมาจาก หมากปราง
ตะปู    กร่อนมาจาก ตาปู
สะใภ้  กร่อนมาจาก สาวใภ้
ละอ่อน กร่อนมาจาก ลูกอ่อน
ตะเข็บ กร่อนมาจาก ตัวเข็บ
สะเอว กร่อนมาจาก สายเอว
แทรกเสียง เช่น   ลูกกระดุม  มาจาก ลูกดุม
ลูกกระเดือก มาจาก ลุกเดือก
ผักกระถิน มาจาก ผักถิน
ผักกระเฉด มาจาก ผักเฉด
นกกระจอก มาจาก นกจอก
นกกระจิบ มาจาก นกจิบ
นกกระจาบ มาจาก นกจาบ
เติมพยางค์ เช่น   โจน เป็น ประโจน

                               โดด เป็น กระโดด
                               จุ๋มจิ๋ม เป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม
                               ถด เป็น กระถด
                               ท้วง เป็น ประท้วง
                               หนึ่ง เป็น ประหนึ่ง
   คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ถ้าตัวสะกดไม่ตรงตามรูปมาตราไม่ใช่คำไทยแท้ ยกเว้น ดูกร กับ อรชร เพราะ มาจากคำว่า ดูก่อนและอ่อนช้อน
   แม่กก ใช้ ก สะกด เช่น ผัก รัก มาก ลาก จาก
   แม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น ดับ คับ สูบ ทุบ ยุบ พบ
   แม่กด ใช้ ด สะกด เช่น มัด รัด ฟัด จุด สด ชด
   แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น วัง มุง ลุง ชั่ง นาง
   แม่กน ใช้ น สะกด เช่น เรียน ลาน ฝัน ปาน
   แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ผม ลม สม ปูม เข้ม งม
   แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น หาย ควาย สาย นาย สวย
   แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ผิว ดาว แมว ข้าว เหว
   คำไทยแท้ไม่มีการันต์ ยกเว้น ๓ คำนี้ แม้มีตัวการันต์ก็เป็นคำไทยแท้คือ ผีว์ ม่าห์ เยียร์
   คำไทยแท้มักปรากฎรูปวรรณยุกต์ เพราะวรรณยุกต์เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย ภาษาอื่นๆ ไม่มี เช่น
               พอ  พ่อ  พ้อ
               แม่   แม้
              ปา   ป่า  ป้า
ลักษณะคำที่มาจากภาษาไทยแท้
                คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย  มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร และมีหลักในการสังเกตที่ตายตัวทำให้เราสามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ว่าคำไทยแท้นั้นมีลักษณะอย่างไร
มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. คำไทยแท้มีพยางค์เดียว
คำไทยแท้มักคำพยางค์มีพยางค์เดียว  และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง  เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที   เช่น
               คำใช้เรียกเครือญาติ    พ่อ    แม่   พี่   น้อง   ป้า   อา   ลุง   ฯลฯ
คำใช้เรียกชื่อสัตว์       ช้าง   ม้า    วัว    ควาย   หมู  กา   ไก่   นก   ฯลฯ
คำใช้เรียกธรรมชาติ    ดิน   น้ำ   ลม   ไฟ   อุ่น   เย็น   ร้อน   ฯลฯ
คำใช้เรียกเครื่องใช้     มีด    ตู้   ครก   ไห   ช้อน  ฯลฯ                       
ทั้งนี้   มีคำไทยแท้บางคำที่มีหลายพยางค์
มีสาเหตุ  ดังนี้
๑ )  การกร่อนเสียง   คือ  การที่คำเดิมเป็นคำประสม ๒ พยางค์เรียงกันเมื่อพูดเร็ว ๆ ทำให้
พยางค์แรก  มีการกร่อนเสียงลงไป   เช่น  หมาก   เป็น   มะ   ตัว   เป็น ตะ   เป็นต้น
ทำให้กลายเป็นคำ  ๒  พยางค์  เช่น
                              หมากขาม          เป็น    มะขาม                ตัวขาบ       เป็น     ตะขาบ
หมากม่วง          เป็น    มะม่วง                 ตาวัน         เป็น     ตะวัน
สาวใภ้               เป็น    สะใภ้                    อันไร         เป็น      อะไร
ฉันนั้น               เป็น    ฉะนั้น
๒ ) การแทรกเสียง  คือ  การเติมพยางค์ลงไประหว่างคำ   ๒ พยางค์  ทำให้เกิดเป็นคำ
หลายพยางค์  เช่น
ลูกตา    เป็น    ลูกกะตา                  ลูกท้อน    เป็น     ลูกกระท้อน
นกจอก   เป็น    นกกระจอก            นกจิบ       เป็น     นกกระจิบ
ผักถิน     เป็น    ผักกระถิน             ผักเฉด      เป็น     ผักกระเฉด
                ๓ ) การเติมพยางค์หน้า  คือ การเติมพยางค์ลงไปหน้าคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์
แล้วทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์  เช่น
โจน              เป็น     กระโจน                        ทำ            เป็น    กระทำ
เดี๋ยว            เป็น     ประเดี๋ยว                      ท้วง          เป็น     ประท้วง
จุ๋มจิ๋ม           เป็น      กระจุ๋มกระจิ๋ม            ดุกดิก       เป็น    กระดุกกระดิก
๒. คำไทยแท้มักมีตัวสะกดตรงตามมาตรา
กล่าวคือ  อักษรที่นำมาเขียนเป็นตัวสะกดจะตรงตามกับมาตราตัวสะกด
๑ ) แม่กก ใช้  ก  เป็นตัวสะกด  เช่น
รัก     ฉาก     จิก     ปีก     จุก   ลูก     โบก    ตัก    เด็ก     เปียก  ฯลฯ
๒ ) แม่กด ใช้  ด  เป็นตัวสะกด  เช่น
คด     จุด     เช็ด   แปด     อวด     เบียด     ปูด     เลือด     กวด     ราด  ฯลฯ
๓ ) แม่กบ ใช้  บ  เป็นตัวสะกด  เช่น
จับ     ชอบ     ซูบ     ดาบ     เล็บ     โอบ     เสียบ     เกือบ     ลบ    สิบ ฯลฯ
๔ ) แม่กง  ใช้  ง  เป็นตัวสะกด  เช่น
ขัง    วาง     ปิ้ง     ซึ่ง     งง     โยง     เล็ง     กรง     ถุง     ดอง   ฯลฯ
๕ ) แม่กน  ใช้  น  เป็นตัวสะกด  เช่น
คัน     ขึ้น     ฉุน     แบน     ล้วน     จาน     เส้น     โล้น     กิน   ฯลฯ
๖ ) แม่กม  ใช้  ม  เป็นตัวสะกด  เช่น
จาม     อิ่ม     ซ้อม     เต็ม     ท้วม     ตุ่น     เสียม      แก้ม     สาม    ล้ม  ฯลฯ
๗ ) แม่เกย  ใช้  ย  เป็นตัวสะกด  เช่น
ชาย     ขาย    เคย     โกย     คุ้ย     คอย     เย้ย     รวย     เมื่อย     สาย    ตาย  ฯลฯ
๘ ) แม่เกอว  ใช้  ว  เป็นตัวสะกด  เช่น
ข้าว     คิ้ว     เหว     แก้ว     เลี้ยว     เปลว     เร็ว    หนาว     นิ้ว     สาว  ฯลฯ
๓. คำไทยแท้      จะไม่พบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ณ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ
มีคำยกเว้นบางคำ  เช่น  ฆ่า  เฆี่ยน  ระฆัง  ศอก  ศึก  ธ  เธอ  ณ  ฯพณฯ  ใหญ่  หญ้า
๔. คำไทยแท้มักมีรูปวรรณยุกต์กำกับ
                เพื่อให้เกิดเสียงต่างกัน ทำให้คำมีความหมายมากขึ้นด้วย  ซึ่งทำให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น
ปา     >   ขว้าง                                        ขาว   >   ชื่อสีชนิดหนึ่ง
ป่า     >   ที่รกด้วยต้นไม้ต่างๆ               ข่าว   >   คำบอกเล่า  เรื่องราว
ป้า    >   พี่สาวของพ่อหรือของแม่      ข้าว   >   อาหารประเภทหนึ่ง
ฝาย   >   สิ่งก่อสร้างคล้ายเขื่อน           เสือ   >    สัตว์ชนิดหนึ่ง
ฝ่าย   >   ข้าง                                          เสื่อ   >     ของใช้สำหรับปูนั่ง
ฝ้าย    >  ผ้าฝ่าย                                    เสื้อ   >      ของใช้สำหรับสวมใส่
ขา      >   อวัยวะ                                      คา    >      หญ้าคา
ข่า      >   สมุนไพร                                  ค่า    >      คุณค่า
ข้า      >   สรรพนาม                                ค้า    >      การค้า
๕. คำไทยแท้มีลักษณนามใช้
  ลักษณนามเป็นนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า  ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำเหล่านี้แตกต่างจากภาษาอื่นชัดเจน  ดังนี้
๕.๑ ลักษณนามบอกชนิด   เช่น
รูป           ใช้ กับ    ภิกษุ  สามเณร
เล่ม        ใช้กับ     หนังสือ  เกวียน  เทียน  เข็ม  ตะไกร
ใบ          ใช้กับ      ตู้  หม้อ  ตุ่ม  หมอน
๕.๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่   เช่น
ฝูง          ใช้กับ     วัว  ควาย  ปลา  นก
กอง        ใช้กับ     ทหาร  ลูกเสือ  อิฐ  ทราย  ผ้าป่า
นิกาย     ใช้กับ      ศาสนา  ลัทธิ
๕.๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน   เช่น
วง          ใช้กับ     แหวน   วงกลม  ตะกร้อ  สักวา   วงดนตรี   แตรวง
หลัง       ใช้กับ     เรือน  มุ้ง  ตึก
แผ่น       ใช้กับ     กระดาษ  กระดาน  กระเบื้อง  สังกะสี
บาน       ใช้กับ     ประตู   หน้าต่าง  กระจกเงา  กรอบรูป
๕.๔  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา   เช่น
คู่            ใช้กับ     รองเท้า  ถุงเท้า  ช้อนส้อม
โหล       ใช้กับ     ของที่รวมกันจำนวน  ๑๒ ชิ้น  เช่น  สมุด  ดินสอ
๕.๕  ลักษณนามบอกอาการ   เช่น
จีบ          ใช้กับ   พลู
จับ          ใช้กับ     ขนมจีน
มวน      ใช้กับ   บุหรี่
๕.๖  ลักษณนามซ้ำชื่อ    เช่น  เมือง   ประเทศ    ตำบล   จังหวัด   ทวีป   ฯลฯ
๖. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้ตัวการันต์
ลักษณะของตัวการันต์ มักเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ  เพราะในภาษาไทยจะไม่นิยมใช้ตัวการันต์   เช่น  โล่      เสา     อิน     จัน    วัน    เท่    กา     ขาด     ปา     จัก  รัน
๗. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก
เช่น   ฆ  ณ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ   ฌ  ธ   ภ   ศ    ษ   ฬ     และสระ  ฤ   ฤา      ยกเว้นคำไทยแท้บางคำ   ดังนี้  เฆี่ยน     ฆ่า      ฆ้อง     ระฆัง    หญิง    ศึก    ใหญ่     ณ    ธ     เธอ    ศอก     อำเภอ
 ๘. การใช้  ใอ  และไอ  ในภาษาไทย
              คำที่ออกเสียง  อัย   ใช้รูปไม้ม้วน  ( ใ ) มีใช้ในคำไทยเพียง  ๒๐  คำเท่านั้น    นอกนั้นใช้ประสมด้วยสระ “ ไอ ” ไม้มลายทั้งสิ้น แต่จะไม่ใช้รูป “ อัย ” หรือ “ ไอย ”  เลย  คำไทยแท้ที่ใช้      “ ใอ ” ไม้ม้วน ๒๐ คำ มีบทท่องจำง่าย ๆ ดังนี้
         “ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                        ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                                  มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ                                 ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้                                     มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว                                   หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                        ยี่สิบม้วนจำจงดี ”
สำหรับคำที่ใช้ อัย กับ ไอย นั้นรับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต

Categories:

Tags:

This will close in 20 seconds